พุทธศาสนาช่วยการบำบัด: สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ในยุคสังคมก้มหน้า
คำสำคัญ:
พุทธศาสนา, การบำบัด, สุขภาพจิต, สังคมก้มหน้าบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทัศนะในประเด็นเกี่ยวกับ พุทธศาสนาช่วยการบำบัด: สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ในยุคสังคมก้มหน้า พบว่า กระแสทางโลกให้ความสำคัญกับการเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข แต่ในทางศาสนาให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง สะอาด สว่าง และสงบหลุดพ้นจากกระแสโลกสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง การไม่มีโรคทั้งทางกายและใจถือเป็นลาภอันประเสริฐ ในยุคสังคมก้มหน้าทำให้คนใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และเกิดโทสะ เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ ขาดสติ ขาดความรู้ตัว ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจถือเป็นสุขภาพจิตที่ดี การฝึกใจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความตั้งใจของความสมดุลทางอารมณ์และสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ยอมรับความเครียดที่เกิดขึ้น ด้วยการนำหลักธรรมะมาช่วยในการบำบัดพัฒนาสภาวะจิตที่ย่ำแย่ในยุคสังคมก้มหน้าให้เกิดความสมดุลในชีวิต
References
ฝ่ายตำราวิชาการ. (2552). สุภาษิตสำนวนและคำพังเพย. นครราชสีมา: แพนด้าเลิร์นนิ่งบุ๊ค.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. นนทบุรี: เมพคอร์ปอเรชั่น, 2547.
ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์. (2557). โรคเท็กซ์เนค อาการของ′สังคมก้มหน้า. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5682
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2557). โรคติดโทรศัพท์มือถือ. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bth.co.th/
th/news-health-th/item/287-nomophobia.html
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรมฉบับขยาย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: ธรรมสถานจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ สำเนียง. (2558). สังคมก้มหน้า. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.pr.chula.ac.th/index.php/15-article/78-2014-05-19-01-32-52
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (2556). วันสุขภาพจิตโลก และสถานการณ์สุขภาพจิตในปัจจุบัน. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bangkokhealth.com/health/article วันสุขภาพจิตโลกและสถานการณ์สุขภาพจิตในปัจจุบัน-860
Davidson, R. (2018). Well-Being is a Skill. Madison, WI: University of Wisconsin-Madison.
World Health Organization. (2018). Global Status Report on non wcommunicable diseases. Geneva 2015-2020. Retrieved May, 18 2020, from http://www.who.int/nmh/publications/ncd-action-plan/en/