ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบัณฑิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ วิไลรัตนกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, ความผูกพันของบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบัณฑิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบัณฑิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 491 รูป/คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความผูกพันของบัณฑิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้ 5 องค์ประกอบ 1) บัณฑิต 2) สภาพแวดล้อม 3) บูรณาการทางวิชาการ 4) บูรณาการทางสังคม 5) ด้านความผูกพัน
  2. การวิเคราะห์ค่าสถิติทดสอบเท่ากับ 7940.079 พบว่า เมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกต มีกลุ่มตัวอย่างแตกต่างจากเมทริกซ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีไกเซอร์ ไมเยอร์ ออลคิน (KMO) เท่ากับ .934 เข้าใกล้ 1 และค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.131 ถึง 0.852 การตรวจสอบความสอดคล้อง โดยหาค่าไคสแควร์ 25.42 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (AGFI) เท่ากับ .94 มีค่าเข้าใกล้ 1 การค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ .001 เข้าใกล้ศูนย์ พบว่าโมเดลการวิจัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554, 10 ตุลาคม). พลังของศิษย์เก่ากับสถาบันนิยม. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2562, จาก http://www. thairath.co.th/content/207979.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. จิตวิทยาสังคม, กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 2518.

ระวี ภาวิไล. (2515). บรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัย. วารสารการศึกษาแห่งชาติ, 7(3), 12-19.

ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนติดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิไลวรรณ พิธิยานุวัฒน์ และ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2519). วิธีประเมินสภาพแวดล้อมหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์, 6(4), 21-31.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, (2528) “ความพึงนอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมหาวิทยาลัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”,วารสารบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6 : 84-90; ธันวาคม 2528.

อนวัช มีเคลือบ, กิตติมา ชาญวิชัย และ จิรวัฒน์ วีรังกร. (2560). การจัดการสื่อสารเพื่อพัฒนาความผูกพันศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(1), 163-177.

Spady, W. G. (1971). Dropout from Higher Education: Toward an Empirical Model. Interchange, 2(3), 38-62.

Spady, William G. “Dropout from Higher Education: An Interdisciplinary Review and Synthesis”, Interchange. 1: 64-85; April, 1970, p.70.

Steers, R.M. “Antecedents and outcomes of organizational commitment.” Administrative Science Quarterty 22, 1(March 1977), p. 46.

Tinto, V. (1975). Dropout from Higher Education: A Theoretical Synthesis of Recent Research. Review of Educational Research, 45(1), 89-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29