การศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

ผู้แต่ง

  • Saksopon Suk-aun Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

สมรรถนะการปฏิบัติงานของครู, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูตามปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก 3) เพื่อเสนอสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ( Mixed Methods ) โดยจำนวน 80 ท่านใช้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทุกสมรรถนะ ได้แก่สมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน สมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน เพื่อการเรียนรู้ สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะภาวะผู้นำครูและการพัฒนาผู้เรียนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก ภาพรวม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การสอน พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21ไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
  3. แนวทางพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 คือครูควรทำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันให้ครูได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้สื่อนวัตกรรมกระตุ้นการเรียนรู้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง

References

ขวัญฤทัย สมอุดม. (2554). สมรรถนะประจำสายงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครพนม).

ฉันทนา บุญมาก. (2555). การศึกษาสมรรถนะของครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรีตามความรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา. (วิทยานิพยธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ฐิติพงษ์ ตรีศร. (2552). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพยธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

ธวัช กงเติม. (2554). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29