การศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการการดำเนินงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นองค์ความรู้ และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นทรัพยากรและการระดมทุน โดยมีรายละเอียดรายด้านดังนี้ 1) ด้านภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นผู้ทรงภูมิปัญญา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นทรัพยากรและการระดมทุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านภูมิปัญญาท้องที่เป็นอุดมคติ วิธีการดำรงชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2553). การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ยุพินธ์ บุญเทพ. (2556). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศุทธา จักคาม. (2555). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
ศิริพร แสงคร้าม.(2555). ผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2551). เด็กและเยาวชน : สังคมมีคุณค่าจากต้นกล้าคุณธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
สุมาลี สังข์ศรี. (2557). ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 42(4), 136-154.
สุดเขต บำรุงแคว้น. (2547). การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
อนุตร์ ขอสันติวิวัฒน์. (2548). การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต).