การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา หงอกชัย sukhothai thammathirat open university

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ความผูกพันต่อองค์การ, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ 4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จำนวน 311 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 175 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีชั้นภูมิแบ่งสัดส่วนและแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  

          ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คือ ควรให้ความสำคัญและสนับสนุน ในเรื่องแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนพร ธรรมโชติ. (2555). ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

ประชุม บำรุงจิตร์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ปิญญามหาบัณฑิต, : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

มะลิวัลย์ เหมืองทอง. (2551). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหาร ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Bryman, A. (1986). Leadership and Organization. London: Rout edge & Keg an Paul.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and nonnative commitment to the organization. Journal of Business and Management Sciences, 4(2), 26-33.

Sashkin, M. (1982). A Manager’s Guide to Participative Management. New York: American Management Associations.

Swansburg, R. C. (1996). Management and Leadership for Nurse Management (2nd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.

Yamane, T. (1973). Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31