รูปแบบการดำเนินธุรกิจและการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม ของประเทศไทย-อินเดีย

ผู้แต่ง

  • ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง 0858661441
  • ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ธุรกิจ, การท่องเที่ยวเชิงศาสนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, อินเดีย

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศไทย-อินเดีย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสงฆ์ และบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้อง 10 รูป/คน ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ชุมชน ภาคเอกชน และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ 20 คน รวมทั้งหมด 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถาม  2) แบบสังเกต 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 4) แบบสนทนากลุ่มย่อย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร  การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

            รูปแบบการดำเนินธุรกิจและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศไทย-อินเดีย มีองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจและการจัดการท่องเที่ยวประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) ด้านที่พัก 2) ด้านอาหาร 3) ด้านสุขอนามัย 4) ด้านความสะดวกสบาย 5) ด้านความรู้ 6) ด้านบริการ 7) ด้านการจัดสรรและการใช้เวลา 8) ด้านการเดินทางพาหนะ 9) ด้านข้อมูลที่ต้องจัดเตรียม 10) ด้านการประสานงาน 11) ด้านบุคลิกภาพและอัธยาศัยของผู้ร่วมเดินทางและผู้นำทัวร์ 12) ด้านประโยชน์ที่ควรจะที่ได้รับ 13) ด้านกิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญ 14) ด้านคุณประโยชน์ด้านปริยัติธรรม 15) ด้านคุณประโยชน์ด้านการปฏิบัติธรรม และ 16) ด้านคุณประโยชน์ด้านปฏิเวธธรรม        

Author Biography

ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง, 0858661441

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). การส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ชาทิตต์ มธุรวาทิน. (2563, 13 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. หัวหน้าทัวร์, เชียงใหม่.

นวลจันทร์ เพียรธรรม. (2563, 12 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. ผู้ประกอบการนำเที่ยว, กรุงเทพฯ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). 50 ปี วัดไทยพุทธคยา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรมพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหาดวงจันทร์ คตฺตสีโล. (2551). เล่าเรื่องเมืองแขก. เชียงใหม่: ใจดีดีมีเดีย.

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโ. (2553). เยือนอินเดียตามรอยอารยธรรมพุทธ. กรุงเทพฯ: Pilgrim Press.

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโ. (2563, 16 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. พระธรรมวิทยากรและผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, ขอนแก่น.

พระมหาบุญอุ้ม รัตนสันติ. (2563, 18 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. พระธรรมวิทยากร อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2552). สัญชาติกายเป็นไทย สัญชาติใจเป็นอินเดีย. ใน พระราชรัตนรังษี, ไปอินเดีย พลิกกองอิฐ สะกิดปัญญา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระมหาอินทรวงค์ อิสฺสรภาณี. (2563, 16 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. พระธรรมวิทยากร อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน, ลำพูน.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทโธ). (2547). จาริกเนปาล. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทโธ). (2549). บริหารแบบธรรมทูตอินเดีย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทโธ). (2550). ร้อยวาทะธรรมะปิดทอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). Delhi, India: OM Laser Printers.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทโธ). (2552). สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล. กรุงเทพฯ: Design-D.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทโธ). (2554). หอมกลิ่นพาราณสี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หลวงพ่อคร้าบ.

พระสมนึก จรโณ. (2563, 17 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน, ลำพูน.

ไพโรจน์ ชินศิรประภา. (2549). ท่องเที่ยวทางธรรมตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980. (2556). ธรรมวิชัยจากแดนพุทธภูมิ พุทธพลิกโลก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2532). สู่แดนพุทธภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2550). คำบรรยายพระไตรปิฎก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

SamyakTravel. (2563, 17 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ [การบันทึกเสียง]. ผู้ประกอบการนำเที่ยว, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31