การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ทิตติยา มั่นดี Mahamakut Buddhist University Lanna Campus

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในด้านทักษะการคิด ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตลอดจนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เชิงลึกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้รับการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดกิจกรรมแบบการจัดกลุ่ม การระดมความคิด การมีส่วนร่วมในการเรียนและได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น เปิดมีโอกาสให้ผู้เรียนออกไปแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งแหล่งการเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน เกิดเป็นผลงานและนวัตกรรมจากการศึกษาเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในส่วนของผู้สอนก็ลดบทบาทของการเป็นผู้ควบคุมในชั้นเรียนลง ผู้เรียน มีอำนาจในการจัดการควบคุมตนเอง สามารถหาความรู้ใหม่ได้ตามความประสงค์ผู้เรียนต้องมีความสามารถทำงานเป็นกลุ่ม ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคิดแปลกใหม่ ยืดหยุ่น และกว้างไกลกว่าการคิดเพียงคนเดียว และรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานยังช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง

References

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ โดยใช้ PBL (Problem Based Learning).วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. (2561). คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก http://www.mtts.ac.th/mtts2/images/pdf/problembase.pdf)

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Barrow, H. S. (2000). Problem-based learning applied to Medical Education (Revised edition). Illinois: School of Medicine, Southern Illinois University.

Osborn, A. (1963). Applied imagination, principles, and procedures of creative problems solving (3rd ed.). New York: Charles Scribers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31