วิถีพุทธ : การพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชสวนครัวของผู้สูงอายุในภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง 0858661441
  • พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • อาภากร ปัญโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • ดิลก บุญอิ่ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

วิถีพุทธ, การพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชสวนครัว, การพัฒนา, ผู้สูงอายุในภาคเหนือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการพึ่งตนเองด้วยการปลูกพื้นสวนครัวของผู้สูงอายุในภาคเหนือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชสวนครัวของผู้สูงอายุในภาคเหนือ และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพึ่งตนเองด้วยการปลูกพื้นสวนครัวของผู้สูงอายุที่ สอดคล้องกับวิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า การพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชสวนครัวของผู้สูงอายุในภาคเหนือ นั่นต้องสร้างองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาการปลูกพืชสวนครัวให้แก่ผู้สูงอายุ ให้ทราบถึงหลักการ วิธีการเพาะปลูก การเลือกพันธุ์ผักให้เหมาะต่อการเพาะปลูก ตั้งแต่หลักการพื้นฐานการปลูกพืชสวนครัว เช่น การเพาะกล้า ย้ายกล้า การปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ทำให้การปลูกผักเป็นเรื่องที่ง่าย เพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้สูงวัยไม่เหงา ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจ และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมได้ ยังเป็นการส่งเสริมการเพื่อพึ่งตนเอง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยยึดหลักธรรมสัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) ให้รู้จักอดทน อดออม เสียสละแบ่งปัน อันจะนำมาซึ่งการพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน

Author Biography

ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง, 0858661441

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

กนก จันทร์ขจร. (2543). คู่มือวัฒนธรรมวิถีชีวิตไท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิกนกจันทร์ขจร.

กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร. (2560). หลักการเบื้องต้นในการปลูกผักสวนครัว. สืบค้น 15 กันยายน 2560, จาก https://ka.mahidol.ac.th/ClinicTechnology/file/techBook/หลักปฏิบัติเบื้องต้น%20ในการปลูกผักสวนครัว.pdf

กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเอง: ศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2563). การเกษตร การปลูกพืชสวนครัว. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.chivavithee.egat.co.th/?page_id=2366

ธวัชชัย พืชผล. (2549). รักในหลวงต้องทำเพื่อในหลวง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Read & Share.

เบญจมาศ วิถี. (2560). ยากจนลดลง..เหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น. สืบค้น 14 กันยายน 2560, จาก https://news.voicetv.co.th/business/467907.html

พระมหาภูษิต อคฺควณฺโณ (ปุลันรัมย์). (2556). การพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 14 กันยายน 2560, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/34-13/3579-2010-10-08-05-24-39.html

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สงูอายุ. (2556). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2535). การวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อการพัฒนา: แนวความคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31