นวัตกรรมเชิงชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม, ระบบกลไกชุมชน, ชุมชนจิตอาสา, นวัตกรรมเชิงชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบกลไกชุมชน พัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และสร้างนวัตกรรมเชิงชุมชน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลตำบลวังดิน ดงดำ และก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ 15 คน 2) ผู้สูงอายุ 60 คน 3) จิตอาสา 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- กลไกของชุมชนในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุ 2) กลุ่มจิตอาสา 3) องค์กรศาสนา 4) กลุ่มองค์กรชุมชน และ 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนกลางในการประสานและระดมความคิดในการสร้างสรรค์กิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า การมีส่วนร่วมกับสังคม การรับผิดชอบต่อสังคม การฝึกทักษะพัฒนาตนเองและมีจิตอาสานำพาสังคมผู้สูงวัยให้เป็นสังคมแห่งความสุขได้อย่างแท้จริง
- การพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ วิชาชีวิต วิชาชีพ และวิชาการ โดยบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ 4 มิติ คือ (1) มิติทางกาย-ศีลสิกขา (2) มิติทางสังคม-ศีลสิกขา (3) มิติทางจิตใจ-สมาธิสิกขา (4) มิติทางปัญญา-ปัญญาสิกขา การดูแลของชุมชนจิตอาสาด้วยจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้สูงอายุมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ทุกข์กับความเจ็บป่วย ทำชีวิตให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรงและสมรรถภาพสมบูรณ์
- นวัตกรรมเชิงชุมชนที่เกิดขึ้น เรียกว่า “จิต (มหาจุฬาฯ) อาสา” หรือ VMCU Model มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ประชาชนจิตอาสา 2) พัฒนาและสร้างกำลังใจ 3) ห่วงใยและเกื้อกูล 4) หนุนเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก นวัตกรรมนี้สามารถขับเคลื่อนโดยกลุ่มจิตอาสาภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่นโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
References
กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2561). ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 15-24.
ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา และ นพพร โหวธีระกุล. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.
ทวีชัย เชสูงเนิน และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญและผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 27 ประจำปี 2554 (น. 190-194). ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระบุญทรง ปุญฺญธโร, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และ ประทีป พืชทองหลาง. (2563). การพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม อย่างยั่งยืนตามแนวพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา ธรรมเจริญ และ นิทัศนีย์ เจริญงาม. (2562). การพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลสองพี่น้อง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(5), 850-865.
วิยะดา รัตนสุวรรณ. (2561). จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(3), 14-24.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). คุณภาพชีวิตของคนไทย: นัยจากสถิติการฆ่าตัวตาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 36(4), 16-24.
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และ ปาณิสรา เทพรักษ์. (2563). การพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อาภากร ปัญโญ, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และ ประทีป พืชทองหลาง. (2563). การพัฒนานวัตกรรมเชิงชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อารดา ธีระเกียรติกําจร. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).