การสร้างความสุขในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กร ของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ตระกูล จิตวัฒนากร NBU

คำสำคัญ:

การสร้างความสุขในองค์กร, ความผูกพันในองค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสร้างความสุขในองค์กร ศึกษาสภาพความผูกพันในองค์กรและศึกษาการสร้างความสุขในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า

  1. การสร้างความสุขในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสังคมดี ด้านสุขภาพ ด้านความมีน้ำใจ ด้านครอบครัว ด้านความสงบ ด้านความผ่อนคลาย ด้านความรู้ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ
  2. ความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความผูกพันต่อเพื่อนร่วมงาน ด้านความผูกพันต่อองค์กร ด้านความผูกพันต่อองค์กร และด้านด้านความผูกพันต่อวิชาชีพ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ
  3. การสร้างความสุขในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ด้านสุขภาพดี ด้านความมีน้ำใจ ด้านสังคมดี ด้านความผ่อนคลาย ด้านหาความรู้ ด้านความสงบ ด้านปลอดหนี้และ ด้านครอบครัวดีมีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ดิ อิมเพรสชั่น เทรนนิ่ง. (2562). วาง 5 แนวทาง สร้างความผูกพันองค์กร. สืบค้น 25 กรกฏาคม 2562, จาก http://www.impressionconsult.com/web/articles/682-article 30082013.html

พิริยะ อนุกุล. (2549). สมรรถนะ : Competency. สืบค้น 18 กันยายน 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/59979

วรรณะ รัตนพงษ์ และ อนัตต์ ลัคนหทัย. (2550). ประชาคมโลก (Global Community). สืบค้น 25 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.baanjomyut.com/library/global_ community/08_3.html

ศรีนวล แตงภู่ และ อารง สุทธาศาสน์. (2561). ความสุขในการทำงานของบุคลากรบริษัทมหาชน. รมยสาร, 16(1), 63-83.

ศศิธร เหล่าเท้ง และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). อิทธิพลของกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร ตามแนวทางความสุข 8 ประการ ที่มีต่อความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(2), 988-1006.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. (2556). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการข้าชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก:คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

อุมาพร ไชยจำเริญ, พวงแก้ว นุดนาบี, กาญจนา สาตา, ชุติกาญจน์ ปาระมี และ ฉันทนา มีทรัพย์ (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร บริษัท ยูเนี่ยนแอพพลาย จำกัด จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(1), 45-57.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31