การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

ผู้แต่ง

  • อัจฉริยะ เจริญไวยิ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
  • อุไร สุทธิแย้ม ภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ผู้บริหาร, ความคิดเห็น, ครู, ภาวะผู้นำร่วม, สหวิทยาเขตศรีนครินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และฝ่ายงานในหน้าที่ กลุ่มประชากร จำนวน 830 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ ซึ่งได้มาโดยวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จของโคเฮน จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ครูมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้านการรู้จักชุมชนหรือองค์กร ด้านการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง และด้านการพัฒนาปัจเจกบุคคล
  2. ครูที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านการรู้จักชุมชนหรือองค์กร ด้านการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง และด้านการพัฒนาปัจเจกบุคคล แตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป มากกว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี และ 5 ถึง 10 ปี
  3. ครูที่มีฝ่ายงานในหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยในกลุ่มบริหารวิชาการ มากกว่า กลุ่มบริหารงบประมาณ และ กลุ่มบริหารงบประมาณและบุคคล มากกว่า กลุ่มบริหารทั่วไป
  4. ครูที่มีฝ่ายงานในหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสร้างการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน โดยครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารวิชาการ มากกว่า กลุ่มบริหารงบประมาณ และ ครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารงบประมาณ มากกว่า กลุ่มบริหารทั่วไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้น 14 ตุลาคม 2563, จาก http://planning.nida.ac.th/main/images/Planning%20Division/Plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf

กุลริศา วงษ์ภักดี. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้นำโรงเรียน มัธยมศึกษาจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ณิชาภา ฐปนสิทธางกูร. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการครู ที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาร สถานศึกษา โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการ ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้น 14 ตุลาคม 2563, จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

พรมาลี สินสมบูรณ์. (2544). ความพึงพอใจของครูที่มี ต่อการบริหารงานของผู้บริหาร โรงเรียนเอกชนสมาคมสหศึกษาสัมพันธ์ สังกัดคณะกรรมการการศึกษา เอกชนกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ภราดร เขมะกนก และ สุชาดา นันทะไชย. (2556). บทความภาวะผู้นำร่วม มิติใหม่ทางการศึกษาที่ควรพิจารณา. สืบค้น 14 ตุลาคม 2563,จาก http://eded.edu.ku.ac.th/V02/Flash/edu.Eke/Process_Doc/001/P03.pdf

มนตรา ผลศรัทธา และ สุเทพ ลิ่มอรุณ. (2556). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี).

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2015). Research Methods in Education 5thed. London. Routledge/Falmer, Taylor & Francis Group.

W.K. Kellogg Foundation. (2007). The collective leadership framework. Retrieved October 14, 2020, from http://www.pointk.org/resources/files/5000338.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30