การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดตามหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในบทเพลงคำเมืองล้านนา จากคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์ แก้วเก๋ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วิเคราะห์แนวคิด, หลักพุทธธรรม, บทเพลงคำเมืองล้านนา, คัมภีร์พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) แนวคิดเกี่ยวกับบทเพลงในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า บทเพลง คือ บทประพันธ์ที่มีเนื้อหาสำหรับขับร้อง  เรียกว่า คาถา มีทั้งเป็นบทเพลงที่กวีแต่งขึ้นไว้ก่อน และเป็นบทเพลงที่ขับร้องขึ้นจากความสะเทือนทางอารมณ์ต่าง ๆ เช่น จากความดีใจ จากความรัก หรือจากการประสบทุกข์เสียใจ จนขับเพลงออกมาทันทีในขณะนั้น บทเพลงในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) บทเพลงที่ประกอบด้วยธรรมะ (2) บทเพลงที่ไม่ประกอบด้วยธรรมะ 2) การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในบทเพลงคำเมืองล้านนา พบว่า (1) หลักสัจธรรม (ความจริง) คือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ มีตัวอย่างบทเพลง คือ ซออริยสัจ 4 ความประมาท เพลงเมาไม่ขับ  (2) หลักจริยธรรม (ข้อที่ควรปฏิบัติ) มีตัวอย่างบทเพลง คือ ค่าวเบญจศีล สัมมาอาชีวะ กรรมตามทัน ค่าวความหลงผิด เป็นต้น 3) แนวทางการส่งเสริมเพลงคำเมืองในวิถีล้านนาเชิงพุทธ พบว่า (1) ระดับปัจเจกบุคคล แนวทางการส่งเสริมเพลงคำเมือง ควรให้องค์กรท้องถิ่นจัดตั้งกองสวัสดิการงานบันเทิง ส่งเสริมให้ศิลปินที่มีความรู้ความสามารถในท้องถิ่น ให้มีผลงาน ให้มีค่าตอบแทน จัดตั้งกลุ่ม ชมรม  สมาคม ภาคบันเทิงระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับชาติ  (2) ระดับองค์กร แนวทางการส่งเสริมเพลงคำเมือง ควรสร้างเครือข่ายศิลปินล้านนา ควรก่อตั้งโรงเรียนและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพลงคำเมืองล้านนา ผ่านหลักสูตรว่าด้วยเพลงคำเมือง (3) ระดับประเทศ แนวทางการส่งเสริมเพลงคำเมือง ควรจัดประชุมสร้างความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์เพลงคำเมือง กำหนดกฎระเบียบที่ส่งเสริมการทำงานด้านเพลงคำเมือง และจัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

References

กาญจนา อินทรสุนานนท์, มานพ วิสุทธิแพทย์ และ เมธี พันธุ์วราทร. (2546). การศึกษาวิเคราะห์เพลงระบำบ้านนา ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

จำนง ไชยมงคล. (2562). พุทธจิตวิทยาการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในเพลงลูกทุ่งไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(1), 39-46.

จินตนา ดำรงเลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพรรณ วรรณา. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

พระมหาสมชัย สิริวฑฺฒโน (ศรีนอก). (2537). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2557). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโคมทองประทีป.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐกรณ์กานต์ ดิษฐอำนาจ, พูนสุข มาศรังสรรค์ และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2562). วิเคราะห์การใช้บทเพลงเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสังคมไทยตามหลักพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(ฉบับพิเศษ), 239-249.

ศราวุธ โชติจำรัส. (2559). แนวทางการส่งเสริมความยั่งยืนของดนตรีผู้ไทย อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี.(รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภนิจ ไชยวรรณ. (2547). กระบวนการสืบทอดเพลงซอพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2550). เพลงคำเมือง (นิยมอ่าน “เพงกำเมือง”). สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://library.cmu.ac.th/ntic/kammuangmusic.php

สุกรี เจริญสุข. (2533). แนววิเคราะห์เพลงพื้นบ้านกับเพลงลูกทุ่งในเส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

อศิมาภรณ์ มงคลหว้า.(2555). ดนตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

อำมลา กมลมาลย์. (2553). การศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

เอนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สารคดี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30