การถอดบทเรียนความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ของโรงเรียนบ้านหนองเขียว ที่ใช้คำสอนของรัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1

ผู้แต่ง

  • ภูเบศ พวงแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุวรรณ หมื่นตาบุตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ประพันธ์ ธรรมไชย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, บนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์, โรงเรียนบ้านหนองเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการบริหารสถานศึกษา 2) เพื่อถอดปัญหาและอุปสรรคของการบริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สร้างความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ของโรงเรียนบ้านหนองเขียวที่ใช้คำสอนของรัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาแบบเจาะจง(Purposive Sampling) มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.89 -1.00 และนำผลการสัมภาษณ์มาตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องแบบสามเส้า สังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นจึงจัดการประชุมกลุ่มย่อย

ผลการวิจัย พบว่า

  1. กระบวนการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1.1) การสร้างแรงบันดาลใจ 1.2) วิเคราะห์สภาพภายในและภายนอก (SWOT) 1.3) การตัดสินใจ 1.4) การมีส่วนร่วม 1.5) การจัดคนเข้าทำงาน 1.6) การประเมินผล 1.7) ร่วมชื่นชม และ 1.8) ความยั่งยืน
  2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารสถานศึกษา พบว่า 2.1) ครูไม่ครบชั้น 2.2) สภาพแวดล้อมของนักเรียน บ้านที่มีความพร้อม ด้านผู้ปกครองเป็นผู้ช่วยครูมีน้อย และใช้ระบบรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง 2.3) ทักษะภาษาไทยของนักเรียน และ 2.4) ขนาดพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน
  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนบ้านหนองเขียว ประกอบด้วย 3.1) วิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการ 3.2) ครูและนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองเขียว 3.3) ความเชี่ยวชาญเฉพาะของบุคลากร 3.4) ความเข้มแข็ง ทางวิชาการที่ใช้คำสอนของรัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติ 3.5) ทุนภูมิปัญญาบนฐานชาติพันธุ์ของชุมชน 3.6) สถานที่ตั้งของโรงเรียน และ 3.7) ความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่าย

References

กรรณิการ์ เกิดศรีพันธ์. (2556). การถอดบทเรียนความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพิทักษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

กริช อินทราทิพย์ และ อรยา พูลทรัพย์. (2562). การถอดบทเรียน. สืบค้น 16 เมษายน 2565, จาก https://rtanc.ac.th/wp-content/uploads/2018/05/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-v1.2.pdf

จงกล แก้วโก. (2563). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.ความต้องการและแนวทางการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 165-178.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564) กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย: งานวิจัยและความท้าทาย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย และบุตรหลานของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อรวรรณ ป้อมดำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30