Gig Worker: ความท้าทายของภาครัฐในการบริหารจัดการแรงงานอิสระคนไทยภายใต้ชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฐชานันท์ วงศ์มูลิทธิกร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สุรัสวดี อินทร์ชัย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • พิมพ์วลัญช์ ศรีบุญ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, แรงงานอิสระ, ชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

โลกแห่งการทำงานในอนาคตกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก และทัศนคติของคนรุ่นใหม่ ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้มีจำนวน Gig Worker (คนที่ทำงานในรูปแบบงานชั่วคราว ไม่จำเป็นต้องมีนายจ้าง ไม่สังกัดองค์กร และมีความอิสระในการรับงาน) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับสภาพการณ์และปัญหาของ Gig Worker ในประเทศไทย รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการของภาครัฐด้านการคุ้มครองแรงงงานและการจัดสวัสดิการให้กับ Gig Worker การศึกษาจากเอกสารด้วยวิธีการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงาน Gig Worker อยู่ประมาณร้อยละ 30% ของคนวัยทำงาน หมายความว่าในคนจำนวน 10 คน จะมีคนที่เป็น Gig Worker อยู่ 3 คนกำลังประสบกับปัญหาไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงานและไม่ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมตามกฎหมาย ดังนั้น แนวทางในการบริหารจัดการแรงงาน Gig Worker คือ 1) การปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจแรงงาน Gig Worker ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม  2) การปรับปรุงระบบประกันสังคมในมิติอื่นนอกเหนือสิทธิประโยชน์ อาทิ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นในระบบประกันสังคม เพื่อจูงใจให้แรงงาน Gig Worker สมัครเข้าระบบประกันตน รวมทั้ง การปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต 3) การจัดสวัสดิการในรูปแบบ tailor made เพื่อให้แรงงานสามารถเลือกรับสวัสดิการตามกลุ่มได้อย่างเหมาะสม                        

แนวทางในการบริหารจัดการกับแรงงานรูปแบบใหม่ (gig worker) ดังกล่าวนี้ จะเป็นการสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะ และทุกกลุ่ม ตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ

References

กัญจนา กลิ่นทอง และ สัมพันธ์ พลภักดิ์. (2560). การบริหารจัดการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรขึ้น ทะเบียนเป็นแรงงานนอกระบบของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 7(2), 247-255.

กิริยา กุลกลการ. (2564). อนาคตตลาดและแรงงานในเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://tsri.or.th/th/news/content/584

จรัสพงศ์ ศรีรัฐนันท์ และ เซฮา ยาทิ. (2564). Gig Worker แรงงานอิสระยุค 4.0 ความท้าทายสร้างสมดุลเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-631926

ชนิภา แช่มเชื้อ และ นิรัญกาญจ์ จันทรา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาเขตประเวศ เขตลาดกระบัง และเขตวังทองหลาง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 ประจำปี 2560 (น.898-904). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ธนาคารกรุงเทพ. (2564). Gig Economy ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของวัยทำงาน. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/gig-economy-attitude-working

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร, (2564). GIG Worker คืออะไร และจะมีผลอย่างไรในการบริหารทรัพยากรบุคคลของ

องค์กร. ดิจิทัล. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://prakal.com/2020/06/16/gig-worker

ปัทมาวดี โพชนุกูล. (2564). อนาคตตลาดและแรงงานในเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://tsri.or.th/th/news/content/584

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่. 82 ก. หน้า 44.

สุชาติ พรชัยวิเศษกุล. (2564). แนวโน้มตลาดแรงงานหลังประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

เลิร์น คอร์ปอเรชั่น. (2564). Gig Worker เทรนด์การทำงานยุค 4.0. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.learn.co.th/gig-worker-เทรนด์การทำงานยุค-4-0

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). การประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). โครงการการออกแบบระบบประกันสังคมที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในอนาคต. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ เป็นธรรม: นัยของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับความเหลื่อมล้ำ-บทเรียนจากเศรษฐกิจ แพลตฟอร์ม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า.

สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์. (2564). Gig Economy ภาษีและแรงงานดิจิทัล. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/932368

สำนักงานประกันสังคม. (2558). เงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนมาตรา 40. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://lb.mol.go.th/เงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทน-ผู้ประกันตนมาตรา-4

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทสไทยสู่ เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน (Transformation to Hi-Value and Sustainable Thailand). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิชญา ฉกาจธรรม และ ปาจรีย์ รอดพ่าย. (2563). ทางรอด Gig Worker ไทย: ความท้าทายใหม่ของแรงงาน นอกระบบภายใต้วิถีชีวิต New Normal. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://brandinside.asia/gig-worker-gig-economy-covid-19

Marketeer Team. (2562). “Gig Worker” กับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ยังไม่ชัดเจน. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/103818

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30