แนวปฏิบัติการประกันคุณภาพที่เหมาะสมของโรงเรียนนานาชาติ: กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย

ผู้แต่ง

  • ทรงสรรค์ อุดมศิลป์ คณะสังคมศาตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่
  • ธีรภัทร์ ประสมสุข คณะสังคมศาตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เพ็ญพรรณ แสงเนตร คณะสังคมศาตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สังวาร วังแจ่ม คณะสังคมศาตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรงเรียนนานาชาติในระบบ, องค์กรต่างประเทศประเมินคุณภาพการศึกษา, แนวปฏิบัติประกันคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ขององค์กรตามท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ประเภทนานาชาติ 2) นำเสนอองค์กรที่เหมาะสมและแนวปฏิบัติขององค์กร เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิเคราะห์ สำหรับโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย 3) จัดทำขั้นตอนตามแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย ตามองค์กรที่นำเสนอ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยของการศึกษาคือองค์กรนานาชาติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง 4 องค์กร และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รวมเป็น 5 หน่วยการศึกษา และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพของแต่ละองค์กรที่ศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์จากเว็ปไซต์ขององค์กรที่เป็นหน่วยศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของทุกองค์กรที่ศึกษานั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันและต่างมีระบบย่อย ๆ ประกอบอยู่ภายในระบบการรับรองคุณภาพของทั้ง 4 องค์กรจากต่างประเทศ โดยที่โรงเรียนที่ขอรับรองการประเมินคุณภาพ ต้องสมัครสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ และมีค่าใช้จ่าย แต่การขอรับการประเมินคุณภาพจาก สมศ. ไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว
  2. องค์กรและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการประกันคุณภาพของโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน คือ สมศ.
  3. ขั้นตอนตามแนวปฏิบัติเพื่อรับการประเมินคุณภาพของ สมศ. สำหรับโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) โรงเรียนต้องทำความเข้าใจกรอบแนวทางการการประเมินของ สมศ. โดยภาพรวม 2) ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อแสดงความประสงค์รับการประเมินภายนอกจาก สมศ. 3) ประสานงานกับ สมศ. เพื่อจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมให้ผู้ประเมิน (ถ้ามีการร้องขอ) 4) เตรียมการดำเนินงานการประเมิน ออนไลน์ ด้านสารสนเทศและด้านผู้แทนโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สัมภาษณ์ระหว่างการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา

References

กิตติภัก สีหาไชย และวันทนา อมตาริยกุล. (2563). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายนอกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 103-113. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/239874

ณัฐพัชร์ วงศ์พัฒนาธนเดช. (2559). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญศรี มณีมาส, นพรัตน์ ชัยเรือง, และวีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล. (2555). การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 14(2), 111-122. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95348

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ประเภทนานาชาติ. (2562, 22 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 47ง. หน้า 28-29.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 117ก. หน้า 1-23.

เมธาพันธุ์ กระสังข์สรสิริ, ประเภทาพร บุญปลอด, พนา จินดาศรี, และศุภธนกฤษ ยอดสละ (2565). ปัจจัยสำคัญการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 60-68. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/view/245482

วรเศรษฐ์ อรรถรวีวัฒน์ และธนีนาฏ ณ สุนทร. (2555). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 127-133. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/50667

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2564, 31 สิงหาคม). แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ Covid-19 สำหรับประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ประเภทโรงเรียนนานาชาติ (Non-joint accreditation). สำนักงาน.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

Hawks, D. (2021). Subsystem: Definition and Explanation. Study.com. https://study.com/academy/lesson/subsystem-definition-lesson-quiz.html

MBA Skool Team. (2021). Systems Approach Meaning, Important & Example. MBA Skool. https://www.mbaskool.com/business-concepts/marketing-and-strategy-terms/18238-systems-approach.html

New England Association of Schools and Colleges. (2021). What is “ACE”?. https://www.neasc.org/ace/what-is-ace

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28