การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของครูและผู้ดูแลเด็กของสมาคมครูและผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • มนตรี วิชัยวงษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารงานวิชาการ, การจัดประสบการณ์เรียนรู้, ความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสมาคมครูและผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์เชียงใหม่ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก 3) ทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก

ผลการวิจัยพบว่า :

1. สภาพการบริหารงานวิชาการ ของสมาคมจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ค่าการวิเคราะห์สูงสุดคือ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สภาพที่เป็นจริง I= 33 สภาพที่ต้องการ D=99 (I-D)/D= 0.667 แสดงว่าครูและผู้ดูแลเด็ก ต้องการที่จะพัฒนาด้านการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

2. สร้างรูปแบบและยืนยันรูปแบบ 1) โดยใช้การสอนแบบโครงการ และกิจกรรมการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบ 2) ยืนยันรูปแบบด้วย Delphi Technique ผลการวิเคราะห์ค่า IQR = 0 ทุกข้อแสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นที่เป็นฉันทามติ และยืนยันความถูกต้องโมเดลด้วย CFA

3. นำรูปแบบไปทดลองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่เป็นสมาชิกของสมาคม โดยครูและผู้ดูแลเด็ก จำนวน 253 คน ปีการศึกษา 2565 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้รับการอบรมมีการทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของครูและผู้ดูแลเด็ก 14 ด้านด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ Jellen & Urban

4. ประเมินรูปแบบด้วยสถิติโค้งพัฒนาการ LGM พบว่าหลังการใช้รูปแบบครูและผู้ดูแลเด็ก มีอัตราพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01** ทั้ง 14 ข้อ

References

กรมวิชาการ. (2546ก). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. โรงพิมพ์คุรุสภา.

ชนาธิป บุบผามาศ. (2565). การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักศึกษาครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 117-125. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/255875/173891

ชัชวีร์ แก้วมณี. (2564). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(3), 397-405. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/251087/172579

น้ำผึ้ง มีศิล. (2559). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: การหลีกเลี่ยงมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(1), 1256-1267. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/61679/50809

เบญจวรรณ คำมา และ เหมมิญญ์ ธนปัทม์มีมณี. (2562). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 154-162. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itmjournal/article/view/203588/157518

พิมพ์พรรณ แก้วโต และ อธิพัชร์ วิจิตสถิตรัตน์. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะทางศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1958/1/gs611130384.pdf

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24 (2), 3–12.

ภาวิณี โตสำลี และ ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, 5(1), 53-66. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/250926/171453

วรรณภรณ์ มะลิรัตน์. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 177-186. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242236/164430

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรฐานการศึกษาชาติ พศ. 2562. บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.

สุขุม มูลเมือง. (2559). เทคนิคการวิเคราะห์สถิติขั้นสูงโมเดลสมการโครงสร้างการประยุกต์ใช้โปรแกรม Amos และ Mplus. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, Lee J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika,16(1951), 297-334. https://link.springer.com/article/10.1007/BF02310555

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160. https://link.springer.com/article/10.3758/BRM.41.4.1149

Jellen, H.G. &Urban, K.K. (1989). Assessing Creative Potential World-wide: The First cross-cultural Application of the Test for Creative Thinking-drawing Production (TCT-DP). Gifted Education International, 6(2) , 78-55. https://www.deepdyve.com/lp/sage/assessing-creative-potential-world-wide-the-first-cross-cultural-NU0aFd73L1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30