อนาคตภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า
คำสำคัญ:
อนาคตภาพ, การบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาล, ทศวรรษหน้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม ประยุกต์ระเบียบวิจัยอนาคต มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลที่เป็นเลิศในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการบริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า 3) เพื่อสร้างอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารระดับสูงกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาของเทศบาล จำนวน 7 คน ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่ม EDFR จำนวน 17 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาล จำนวน 313 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม EDFR และแบบสอบถามความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์ นําผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเขียนสรุปแบบบรรยายพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลที่เป็นเลิศในปัจจุบัน มีโครงสร้างการบริหารเพิ่มขึ้นมาตามจุดเน้นและวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีการเพิ่มฝ่ายงานด้านความเป็นเลิศ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ สู่ความเป็นเลิศที่ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ โดยมีนโยบายผู้บริหารท้องถิ่นเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
- แนวโน้มอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า 7 หมวด 32 ตัวชี้วัด มีความสอดคล้องของความคิดเห็น (Interquartile Range Q3-Q1 ไม่เกิน 1.5) ในทุกหมวดและทุกตัวชี้วัด มีโอกาสเป็นไปได้ในระดับ มากที่สุด และ เป็นภาพอนาคตที่พึงประสงค์ เป็นฉันทามติและมีความเป็นเอกพันธ์
- อนาคตภาพการบริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลในทศวรรษหน้า 7 หมวด 32 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ มี 5 ตัวชี้วัด หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มี 5 ตัวชี้วัด หมวด 3 การให้ความสำคัญกับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 4 ตัวชี้วัด หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร มี 5 ตัวชี้วัด หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มี 4 ตัวชี้วัด และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ มี 5 ตัวชี้วัด
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศฟินแลนด์. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. https://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?_mode=read&ebookColum=6134
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). ที่ตั้งโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). สืบค้น 22 มกราคม 2566, จากhttps://data.go.th/dataset/school-location
กรวีร์ ขาวดี และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2565). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดทักษะชีวิตและอาชีพ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 233-247. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/265310
ไกรยส ภัทราวาท. (2558). รีเซ็ตการศึกษาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม. สถาบันพระปกเกล้า.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2546). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. Journal of Education Studies, 13(2), 1-19. https://doi.org/10.58837/CHULA.EDUCU.32.1.1
ณิชา พิทยาพงศกร. (2563, 14 พฤษภาคม). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education
พุทธิภา เล็กคงสันเทียะ. (2564). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 205-223. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/191566
ยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2565ก, 5 เมษายน). รายงานใหม่ชี้เด็กในเกือบทุกประเทศเผชิญการเรียนรู้ถดถอยเนื่องจากโควิด-19. https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/รายงานใหม่ชี้เด็กในเกือบทุกประเทศเผชิญการเรียนรู้ถดถอยเนื่องจากโควิด-19
วุฒิสาร ตันไชย. (2563, 12 พฤศจิกายน). ท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานร่วมกับกสศ. เข้าใจสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำการศึกษา. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/interview-13-11-20
เวิร์คพอยท์ทูเดย์. (2565, 5 เมษายน). ยูนิเซฟเปิดรายงาน: เด็กทั่วโลกเรียนรู้ถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19. workpointtoday. https://workpointtoday.com/unicef-220405
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568. สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. อมรินทร์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติปี. (2564). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2565-2566. โรงพิมพ์ตะวันออก.
Buytendijk, F. (2006). Business Performance Management Magazine. Prentice-Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Linder, J. C., & Brooks, J. D. (2004). Transforming the public sector. Emerald Publishing Limited.
Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. The California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development Monte.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.