การศึกษาอิทธิพลความเชื่อลัทธิเต๋าที่ปรากฏในประเพณีชาติพันธุ์ฮั่นของเมืองเป่าซาน
คำสำคัญ:
ชาติพันธุ์ฮั่น, ประเพณี, ลัทธิเต๋า, อิทธิพลความเชื่อบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อลัทธิเต๋าที่ปรากฏในประเพณีชาติพันธุ์ฮั่นของเมืองเป่าซาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งรวมการใช้ qualitative research (การวิจัยเชิงคุณภาพ) และ quantitative research (การวิจัยเชิงปริมาณ) เข้าด้วยกัน ในกรณีนี้ การใช้ questionnaires (แบบสอบถาม) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาเอกสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่ามี 18 ประเพณีของชาวเป่าซาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต 4 ประเพณี มีการบูชาเทพเจ้า 14 ประเพณี มีการใช้นักบวชของลัทธิเต๋าเพื่อประกอบพิธีกรรม 5 ประเพณี ใช้ผู้อาวุโสในครอบครัวร่วมกับนักบวชเต๋า 1 ประเพณี สมาชิกในครอบครัวสามารถประกอบพิธีกรรมได้ด้วยตนเอง 12 ประเพณี ส่วนประเพณีที่ต้องประกอบพิธีกรรมในศาสนสถานของลัทธิเต๋า มี 2 ประเพณี ประกอบพิธีกรรมที่หลุมฝังศพ 1 ประเพณี ประกอบพิธีกรรมในที่โล่งกว้าง 1 ประเพณี และสามารถประกอบพิธีกรรมในบ้านของตน 14 ประเพณี นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลความเชื่อของลัทธิเต๋าและชาติพันธุ์เป่าซานมีความสัมพันธ์กันด้วย 4 ความสัมพันธ์ คือ 1 ด้านความเชื่อ ที่มีการปลูกฝังตลอดวิถีชีวิตในประเพณีต่างๆตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ด้านที่ 2 ด้านเทพเจ้า ที่มีการสื่อสารไปยังเทพเจ้าต่างๆของลัทธิเต๋าเพื่อให้ผู้ร่วมประเพณีได้รับผลทั้งด้านชีวิตและจิตใจ ด้านที่ 3 นักบวช มีการใช้นักบวชในลัทธิเต๋าเพื่อประกอบพิธีกรรม และด้านที่ 4 ศาสนสถานของลัทธิเต๋าที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม
References
เทวฤทธิ์ ศรีใชยพล. (2563). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสุขของปรัชญาลัทธิเต๋า.วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 2(1), 17-24. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/254831
ธัญจิรา อัศว์ไชยตระกูล. (2560). แนวคิดเต๋าและเซนในภาพยนตร์เรื่อง กังฟูแพนด้า. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล (2564). สนุทรียศาสตร์จีน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนา จันทรสันติ. (2525). วิถีแห่งเต๋าหรือ (พิมพ์ครั้งที่ 5). เคล็ดไทย.
พนมกร คำวัง. (2562). ความเป็นมาและพัฒนาการของลัทธิเต๋า. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 2(2), 25-39. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/437
ภาศิณี โกมลมิศร์. (2563). การศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของอำนาจในปรัชญาเต๋า. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 3(1), 46-63. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmpr/article/view/250259
สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2564). การปะทะสังสรรค์ของคติขงจื๊อ เต๋า พุทธในตัวละครหงอคงในวรรณกรรมไซอิ๋ว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 158-189. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/246553
Baidu. (2566, 18 พฤศจิกายน). ลักษณะขนบธรรมเนียมเป่าซานและวัฒนธรรมพื้นบ้าน.https://wk.baidu.com/
Lan, C. (2561). ร่องรอยเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาและศาสนาเต๋า ในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(26), 145-157. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/156576
Liyang, G. (2566). การวิเคราะห์จุดเน้นห้าจุดสำหรับการยึดมั่นใน Sinicization ของลัทธิเต๋า. วารสารวัฒนธรรมทางศาสนาของโลก, 23(5), 1.
Lewis, M. H. (1994). Religions of the World. Cambridge University Press.