โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา่ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต2

ผู้แต่ง

  • อภิญญา วิบูลย์สิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุภัทร พันธ์พัฒนกุล มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา 2) สถิติใช้ตามความมุ่งหมายของการวิจัย คือ ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI

ผลการวิจัยพบว่า

ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) การเรียนรู้เป็นทีม 2) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 3) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.12) และด้านวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.09) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅= 4.90) และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม (PNI modified = 0.371) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (PNI modified = 0.367) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน (PNI modified = 0.365) ตามลำดับ และผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.54, S.D.= 0.50) และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.62, S.D.= 0.49)

References

จุลศักดิ์ ก๊อกพิมพ์. (2561). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2563). การเรียนรู้ยุคใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2564). ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารการศึกษา: ปัจจัยสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2566-2570. https://office2021.ksed.go.th/wp-content/uploads/2022/12/แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์-พ.ศ.-2566-2570.pdf

อนุชิต พันธ์กง. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษ มัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 169-182. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11052

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30