ความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9

ผู้แต่ง

  • สุนิษา ชานนท์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตรประมาณค่า 5 ระดับ 2 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNI Modified เท่ากับ 0.41 ค่า IOC เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.92 สภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.94

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการประเมินความสามารถพื้นฐาน และสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ ด้านการรวบรวมข้อมูล

2. ความต้องการจำเป็นในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ด้านการรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) ด้านการคัดกรองผู้เรียนตามประเภทความพิการทางการศึกษา 3) ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและส่งต่อ 4) ด้านการจัดทำแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP) และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 5) ด้านการประเมินความก้าวหน้า 6) ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม 7) การและด้านประเมินความสามารถพื้นฐาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ชฎาพร ยศกลาง. (2565). สภาพและปัญหาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยและประเมินความต้องการจำเป็น. ธรรมดาเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

มนัชญา แก้วอินทรชัย. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิด การเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4406

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (2560). (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564. (2564, 21 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 76ก. หน้า 1-4.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์. (2563). คู่มืองานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (EI) และเตรียมความพร้อม กลุ่มบริหารงานวิชาการประจำปี 2563. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สมบัติ ท้ายคำเรือ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). คู่มือการให้บริการการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สุบิน ประสพบัว. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bar, M. J., & Keating, L. A. (1990). Introductoin: Elements of program development. In M. J. Barr, L. A. Keating and Associates, Developing effective student services program. Jossey-Bass.

Bonnie, K. (2016). The early intervention guidebook for families and professionals: partnering for success. Teachers College Press.

Early Intervention Foundation. (2019). What is early intervention. Retrieved June 1, 2018, from https://www.eif.org.uk/why-it-matters/what-is-early-intervention

Heward, W. L. (2018). Exceptional children: an introduction to special education (11th ed.).

Hoover, P. J. (2001). Mothers’ perceptions of the transition process form early intervention to early childhood special education: related stressors, supports, and coping skills [Unpublished doctoral dissertation]. Virginia Polytechnical Institute and State University.

Mahmoud, A. T. (2019). An overview of children with special needs. National Open University of Nigeria Abuja.

Mentor Adepis. (2014). Early Intervention and prevention. HRB National Drugs Library. https://www.drugsandalcohol.ie/24069/1/Early-Intervention-and-Prevention-briefing-paper.pdf

National Institute for the Mentally Handicapped. (2008). Organization of Early Intervention Services. https://niepid.nic.in/92%20org%20erly%20intevrn%20services.pdf

National Mental Health and Education Center. (2002). Social skills: promoting positive behavior. academic success, and school safety. Arlington Public Schools. https://www.apsva.us/wp-content/uploads/2016/07/Social-Skills.pdf

Pearson Education.

Roffey, S. (2001). Young Children and Classroom Behaviour. Routledge.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30