การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธัญณิชา คำมอญ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติฯ
  • ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติฯ
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติฯ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธ, บุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธ ควรดำเนินการดังนี้ 1) การฝึกอบรมกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ 2) การพัฒนาความประพฤติให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย 3) การฝึกอบรมจิตให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงาม 4) การฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

References

ประภาพร บุญเพิ่ม (2555). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพกับพยาบาล ผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. STOUIR at Sukhothai Thammathirat Open University. https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2070

พิรัญญา นิลพันธ์. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พิศโสภา ทีฆาวงค์ (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1530

มาลินี ธรรมบุตร (2550). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทางานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์ (2543). พื้นฐานการวิจัย. สุวีริยาศาสตร์.

แสงดาว ปานแหลม (2562). คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 2(1), 1-10. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WPSMS/article/view/244226

องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ.

Walton, R. E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

คำมอญ ธ., โรจน์กิจจากุล ธ., & สุขเหลือง เ. (2024). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. ปัญญา, 31(3), 107–116. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/276709