รูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การจัดการเรียนรวม, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรวม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวม 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรวมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 163 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ยืนยันรูปแบบ จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่าสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรวม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านเครื่องมือ/สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเรียนการสอน และด้านนักเรียน ตามลำดับ
- รูปแบบการจัดการเรียนรวมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3)วิธีการดำเนินงาน 4) การประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรวมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 17 คน โดยรวมมีระดับคุณภาพมาก
References
ชมบุญ แย้มนาม. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3149
ชัชวาล ไวแสน, ไชยา ภาวะบุตร, และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2566). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(45), 91-99.
ชำนาญ ศรีวงษ์. (2560). รูปแบบการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนแกนนำเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1-5 โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธีระพงษ์ พรมกุล. (2558). สภาพการบริหารการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เป็นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิศากร จิติวงค์. (2562). พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสําหรับโรงเรียน ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. DSpace at Mahasarakham University. http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1316
เบญจา ชลธาร์นนท์. (2546). การศึกษาแบบเรียนรวม เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ภาวิณี เทมียโก และธรินธร นามวรรณ. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 218-229. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246260
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2566). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.
สุชาดา บุบผา. (2557). ตำราการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education). คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.