การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
บูรณาการ, นักการเมืองท้องถิ่น, พัฒนาชุมชน, สังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรประชากรที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 354 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
- หลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนฯ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.50, S.D. = 0.87) และระดับบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.58, S.D. = 0.81)
- ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนฯ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r = .926**) มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน
- การบูรณาการตามหลักธรรม พบว่า การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วย 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา การรู้จักพูดจาไพเราะ อ่อนหวาน 3) อัตถจริยา การรู้จักเกื้อกูลกัน 4) สมานัตตตา รู้จักการวางตัวสม่ำเสมอ ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในน้ำใจของผู้อื่นในการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จะช่วยขัดเกลาและขจัดความขัดแย้ง สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดในชุมชน ทำให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
References
พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534. (2534, 4 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 108 ตอนที่ 156. หน้า 3.
พระศิวสินธุ์ ฐานสมฺปนฺโน (กันทะเรียน). (2565). ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์รัปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโสภณ โสภโณ (ทองสม), พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล, และพระครูวิจิตรศีลาจาร. (2563). การประยุกต์ใช้ หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนวัดใหม่ทุ่งคาอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 15-25. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/241035
มนตรี วิชัยวงษ์, เจริญ กระพิลา, และกมล บุตรชารี. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ของชุมชนการ เคหะหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10(1), 169-179. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/202868
สมพงษ์ เกษานุช, ธนู ทดแทนคุณ, เบญจรงค์ พื้นสะอาด , สัญญา เคณาภูมิ, ชื่นนภา หนันแดง, และเกษฎา ผาทอง. (2562). บทบาทผู้นำกับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(3), 293–306. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/243243