การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารห้องถิ่นเทศบาล ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาไพโรจน์ กนฺตธมฺโม (สุปินะ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระครูโสภณกิตติบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางการมือง, การเลือกตั้ง, การประยุกต์หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง 3) เสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ใช้วิธีวิจัยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลจริม จำนวน 378 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 6,847 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป/คน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. พฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง
  3. การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
    มีแนวทางการประยุกต์ ดังนี้ 1) ควรแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ 2) ควรเข้าร่วมประชุมและเลิกประชุมอย่างพร้อมเพรียง 3) ไม่ควรเสนอกฎเกณฑ์ที่ขัดกับกฎระเบียบกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4) รับฟังความคิดเห็นผู้เป็นประธานในการเลือกตั้ง 5) รับฟังความคิดเห็นผู้เป็นประธานในการเลือกตั้ง 6) ช่วยกันดูแลบำรุงรักษาสถานที่เลือกตั้ง 7) อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). ระบบศูนย์ข้อมูลเลือกตั้งผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น และทะเบียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.). กระทรวงมหาดไทย

กาญจนา ดำจุติ. (2557). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมของผู้นำชุมชนในการบริหารจัด การองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญร่วม เทียมจันทร์ และศรัญญา วิชชาธรรม. (2566). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์ The Law Group.

ภาสวรรณ สิทธิกรณ์ และสุรพล พรมกุล. (2564). พฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7. Journal of Buddhist Education and Research, 8(3), 36-45. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/261496

วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ และสุขุม นวลสกุล. (2543). การเมืองและการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 14). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อังสุมาลิน ปัญญาแก้ว, สายัณห์ อินนันใจ, และสมจิต ขอนวงค์. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชนในการเลือกตั้งตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 2(2), R0894. https://doi.org/10.14456/journal-rabij.2024.11

เอกพจน์ อุดดี และสมจิต ขอนวงค์. (2566). การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือก ตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ตำบลแม่คํามี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. Journal of Lanna Societies, 1(4), 18-29. https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jls/article/view/427

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

สุปินะ ไ. ., & ศรีทา บ. (2024). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารห้องถิ่นเทศบาล ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. ปัญญา, 31(3), 97–106. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/277763