กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

โชติกา ศรเพชร โชติกา ศรเพชร
ประจิตร มหาหิง
สมปอง ชาสิงห์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามตำแหน่งวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานและเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 320 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 รองลงมาคือ ด้านกลยุทธ์การบริหารงานงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 และด้านกลยุทธ์การบริหารงานทั่วไปตามหลักอิทธิบาท 4 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 ส่วนผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) ด้านกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมก่อนการวางแผนการดำเนินงาน 2) ด้านกลยุทธ์การบริหารงานงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรวิเคราะห์จัดทำแผนงบประมาณและแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน 3) ด้านกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมก่อนการวางแผนอัตรากำลัง และ 4) ด้านกลยุทธ์การบริหารงานทั่วไปตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมก่อนการวางแผนการบริหารงานการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chinapa, L. (2016). Knowledge and participation of school administrators and teachers towards the operation Internal Quality Assurance of Educational Institutions under the Office of Roi Et Elementary Education Area 2. Master of Education. Graduate School Buriram Rajabhat University.

Chinsuwan, P. (2005). A Study of School Administrators Supervision Roles of School Administrators Primary education under the Office of SuphanBuri Provincial Primary Education. Master of Education. Graduate School: Kanchanaburi Rajabhat University.

Chulaserikun, A. (2016). The use of the Four Iddhipada principle in educational administration Chalerm Theological College PhraKiatKalasinMahamakut Buddhist University. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 41-51.

Kueanthan, J. (2016). Academic Administration According to Iddhipada IV in the Basic Education Institutions under the Office of Nongkhai Primary Educational Service Area 1. Phimoldhamma Reseach Institure Journal, 3(2), 41-52.

Mccarthy, Water M. (1971). The Role of the Secondary School Principals in New Jersey. Dissertation Abstracts International, 32(2), 705A.

Nambua, N. (2013). Human Resource Management according to the Four Baht Influence of the Phrapariyattidhamma Schools General Education Department in Mueang District, Nakhon Sawan Province. Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Office of the Permanent Secretary for Education. (2017). Civil Service Plan Evaluation Report Annual budget year 2017 of the Ministry of Education. Bangkok: Ministry of Education.

Thamchayakon, C. (2010). General administration of schools under Takua Pa Municipality, Phang Nga Province. Master of Education. Graduate School: Suan Dusit Rajabhat University.

Wahami, A. (2016). Roles of school administrators in promoting operations in primary schools Fundamental under the Office of Pattani Primary Educational Service Area 3. Master of Education. Graduate School: North Bangkok University.