การจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน จำแนกตามระดับการศึกษา เพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และเพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนตามทะเบียนบ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 391 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม รองลงมา คือ ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และด้านความรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความพอประมาณ
2. การเปรียบเทียบการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน จำแนกตามระดับการศึกษา เพศ มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางในการส่งเสริมการจัดการความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนมีดังนี้ 1) ด้านความพอประมาณ ควรมีข้อมูลรายรับรายจ่ายภายในครอบครัวด้วยความซื่อสัตย์ทุกเดือน 2) ด้านความมีเหตุผล ควรมีข้อมูลทรัพยากรของกินของใช้ชุมชนอย่างเป็นระบบ 3) ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน 4) ด้านความรู้ ควรมีข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในแขนงต่างๆ ในท้องถิ่น มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอาชีพสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ 5) ด้านคุณธรรม ควรมีข้อมูลบุคคลต้นแบบของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ พัฒนาเยาวชนให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่ห่วงแหนความเป็นท้องถิ่น