ความงามจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถตามทฤษฎีจิตวิสัย วัดโพธิ์ชัยโคกใหญ่ ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พระมหาการันต์ ภูมิไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุวิน ทองปั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อุทัย กมลศิลป์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุรพันธ์ สุวรรณศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความงาม, ทฤษฎีจิตวิสัย, จิตรกรรมฝาผนัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดโพธิ์ชัยโคกใหญ่ 2) ศึกษาความงามตามทฤษฎีจิตวิสัย 3) วิเคราะห์ความงามภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถตามทฤษฎีจิตวิสัยวัดโพธิ์ชัยโคกใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มพระภิกษุ จำนวน 4 รูป กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 4 คน และกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดโพธิ์ชัยโคกใหญ่ เป็นภาพเวสสันดรชาดกและพุทธประวัติที่เขียนภายในผนังอุโบสถ ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ ทิศตะวันออก ประกอบด้วย กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ ทิศตะวันตก ประกอบด้วย กัณฑ์นครกัณฑ์ และพุทธประวัติตอนมารผจญ ทิศเหนือ ประกอบด้วย กัณฑ์ฉกษัตริย์ กัณฑ์มหาราช ทิศใต้ ประกอบด้วย กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์วนประเวศน์ กัณฑ์ชูชก กัณฑ์จุลพล วาดในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย วาดด้วยสีฝุ่น โดยช่างญวน
2. ความงามในทฤษฎีจิตวิสัย คือ ความงามที่เกิดจากอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลในการรับรู้ภาพกิจกรรมฝาผนังแล้วทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ในการเข้าถึงความงามของวัตถุที่พบเห็นใน 4 ประการ คือ 1) ความน่าทึ่ง 2) ความศรัทธา 3) ความพึงพอใจ และ 4) ความเพลิดเพลิน
3. ความงามภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถตามทฤษฎีจิตวิสัย เมื่อได้ชมจิตรกรรมฝาผนังแล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึกซาบซึ้งภายในจิตใจของแต่ละบุคคลใน 4 ประการ คือ 1) ความน่าทึ่ง 2) ความศรัทธา เป็นสภาวะแห่งอารมณ์ความเชื่อ 3) ความพึงพอใจ เป็นความรู้สึกชอบใจ อิ่มอกอิ่มใจ 4) ความเพลิดเพลิน เป็นความรู้สึกสุขใจ และบันเทิงใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)