ลำผีฟ้า: วิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านในชุมชนบ้านซำแฮด ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ชุมชนบ้านซำแฮด, ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, วิถีการรักษาสุขภาพ, ลำผีฟ้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน 2) ศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่สัมพันธ์ และ 3) ศึกษาผลของการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยพิธีกรรมลำผีฟ้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 1 รูป ผู้รู้/ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 คนหมอพื้นบ้าน จำนวน 2 คน หมอลำผีฟ้า จำนวน 1 คน บริวาร จำนวน 10 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 22 รูป/คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมลำผีฟ้าเป็นวิถีการรักษาสุขภาพแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่แม่สันติ รุณรุทธิ์ เป็นผู้สืบทอดวิถีการรักษาสุขภาพจากผีฟ้าในปัจจุบัน เป็นการรักษาโดยการอันเชิญอ้ายพี่หรือครูบาสีทนให้มาสิงสถิตร่างของแม่หมอและบริวาร โดยมีขั้นตอนการผูกฝ้าย การวินิจฉัยเบื้องต้น สถานที่, และการประกอบพิธีกรรม ส่วนผู้ที่ร่วมพิธีกรรม มีแม่หมอ บริวาร ผู้ป่วย หมอแคน และญาติผู้ป่วยและพิธีลงข่วงซึ่งปีนี้จัดตรงกับวันอังคารที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
ส่วนปัจจัยและเงื่อนไขที่สัมพันธ์ในชุมชนบ้านซำแฮด เกิดจากสังคมที่เปลี่ยนไป การเข้ามาของการแพทย์สมัยใหม่ที่มีอำนาจมากกว่าผู้ป่วย เกิดค่านิยมความต้องมากขึ้น ถึงแม้ยาปฏิชีวนะที่ได้มาไม่ตอบสนองกับโรค เหตุที่ชุมชนเข้าถึงแพทย์สมัยใหม่ได้ง่าย เพราะมีการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมสะดวกสบายมากขึ้น แต่วิถีการรักษาแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านของแม่หมอสันติ รุณรุทธิ์ มีมิติทางสัมพันธภาพที่ดีต่อกันกับบุคคลรอบข้างชุมชนอบอุ่นทางกายจิตใจ มีความสุขที่ได้หลุดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บที่รอความตายเมื่อได้ทำความดี การเสียสละ มีเมตตา จิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าสูงส่งเกิดความกรุณาอันประณีตและลึกซึ้งยิ่ง
References
Banmuang, N. (2017). The Piloting PheeFa to Treatment. Bangkok: Banmueang Printing Company Limited.
Charoenchan, C. (2014). Health Belief, Self Efficacy, Parenting Styles and Self care Behavior of the High School Students at SatriNonthaburi in Nonthaburi Province. Journal of Social Sciences and HumanitiesKasetsart University, 40(1), 69-84.
Chuengsatiansup, K. (1994). Spirituality and health: An initial proposal to incorporate spiritual health in health impact assessment. Social Science & Medicine, 61(7), 16-31.
Juntachum, W. (2002).Nursing service Quality as Expected and Perceived by Patients under the Universal Health Coverage Scheme Community Hospital Nakhonratchasima. Thai Journal Citation Index Center, 23(2), 36-44.
Kaensombat, C. (2009). A study of ritual (lam pee fah) ; traditionalesarn folk dance for sacrifice to the ancestor’s spirits at Ban Nonthong, Nongjik sub district, Borabu district, Mahasarakham province. Master of Fine Arts. Graduate School: Srinakharinwirot University.
Lupton, D. (1994). Medicine as culture: Illness, disease and the body in Western societies. London: Sage Publication.
Matthawangkun, C. (2014). Synthesis, Adaptation and Position of folk Medicine Wisdom in Community health System: Case study of Kanchanaburi province. Thai Journal Citation Index Center, 35(2), 206-222.
Phoprayak, S. (1999). Applying Wisdom to Patients. Singapore: NUS Press.
Paopan, C. (2010). The Rite Configuration. Journal of Educational Administration Khonkaen University, 15(1), 1-12.
Phraphujumnong, W. (1993). Treatment regional by Herb to peasantry satuek district Buriram province. Education thesis master's degree. Graduate School: Mahasarakham University.
Taechakaew, Y. (1997). Rituals Lam PheeFa Belief Systems in Northeastern Thailand. Chiangmai: Chiangmai University Press.
Taoprasert, Y. & Taoprasert, K. (2004). Traditional & Alternative Medicine. Chiangmai: Wanidaplace.