การสร้างแบบวัดการคิดอภิปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

Main Article Content

เยาวลักษณ์ จันทร์ณรงค์
เอกภูมิ จันทรขันตี
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดการคิดอภิปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดอภิปัญญา 3) สร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นของแบบวัดการคิดอภิปัญญาและ 4) สร้างคู่มือการใช้แบบวัดการคิดอภิปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 367 คน
ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดที่สร้างขึ้นใช้วัดการคิดอภิปัญญา แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ คือ ความรู้เกี่ยวกับการคิดอภิปัญญาและประสบการณ์การคิดอภิปัญญา แบบวัดมี 2 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ ฉบับที่ 1 เป็นแบบวัดชนิดเลือกตอบ วัดความรู้เกี่ยวกับการคิดอภิปัญญา ฉบับที่ 2 เป็นแบบรายงานตนเอง วัดประสบการณ์การคิดอภิปัญญาผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามในแบบวัดการคิดอภิปัญญามีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.34-0.96 ค่าความเที่ยงมีค่าเท่ากับ 0.89 ความตรงเชิงโครงสร้างและค่าน้ำหนักองค์ประกอบของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.085-0.792 เกณฑ์ปกติของแบบวัดมีค่าตั้งแต่ T30 ถึง T62 คู่มือการใช้แบบวัดมีรายละเอียดครบถ้วน นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม อ่านเข้าใจง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chaiso, P. (2002). Advanced Educational Measurement and Evaluation. Bangkok: Kasetsart University.

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive developmental inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911.

Kanchanawasi, S. (2009). Classical test theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Khammanee, T. (2012). Teaching science: knowledge for effective learning process management. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.

Kitpridaborrisut, B. (2010). Techniques for creating data collection tools for research. Bangkok: Srianan Publisher.

Rattakul, C. (2009). Measurement Techniques. Bangkok: Srinakharinwirot University Press.

Suabkaoe, Y. (2008). Development of a metacognition test for lower secondary school students. The dissertation of M.Ed. Graduate School: Chulalongkorn University.

Tamir, A. (1989). Training Teachers to Teach Effectively in the Laboratory: Science Teacher Education. https://www.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/sce.3730730106 (Accessed 15 March 2020).

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Evaluation of scientific evaluation. Bangkok: SE-ED Publisher.

Trirakanan, S. (2008). Social Sciences Research Methodology: Practice. Bangkok: Chulalongkorn University Press.