การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุทธินี ช่วงมณีโชติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แบบวัด, ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ และสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับการใช้แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ และพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัด คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 628 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบบวัดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม
32 ข้อ แบบวัดที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นคำถามเชิงสถานการณ์ไม่อิงเนื้อหาเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบ 0 คะแนน
ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพสามารถนำไปใช้วัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ จากการคำนวณ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการของทักษะการรู้ท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ข้อคำถามและตัวเลือกในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67-1.00 2) ค่าความยาก มีค่าตั้งแต่ 0.23-0.73 และค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.20-0.90 3) ความตรงเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 1146.90; df = 470; Chi-Square/df = 2.44; RMSEA = 0.048; SRMR = 0.054) ความเที่ยงของแบบวัดจากการคำนวณโดยใช้สูตร KR-20 พบว่า แบบค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.895 5) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดทักษะการรู้ท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติ มีค่าตั้งแต่ T13-T97 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเหมาะสมมีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้งาน

References

Angsuchoti, S., Wichitwanna, S. and Pinyopanuwat, R. (2011). Statistical analysis for research in social and behavioral sciences: a technique using the Lisrel program. Bangkok: Charoen Dee Mangkong Printing.

Gamket, W. (2012). Behavioral Science Research Methodology. Bangkok: Chulalongkorn University.

National Child and Youth Development Commission. (2018). Child Development Report and Youth 2017. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

National Statistical Office. (2013). Survey of Information and Communication Technology Use in Household. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society.

Nattapon, B. (2012). The result of teaching and learning using social media according to theory. Building knowledge by oneself, academic, creating mixed media work Subject: Computer and internet for Mathayomsuksa 4 level at Triamudomsueksa Phatthanakan Lamlukka School. Master of Education. Graduate School: Kasetsart University.

Office of Health Promotion Fund. (2011). Media literacy, ICT. Bangkok: Office of Health Promotion Fund.

Saiyot, L. and Saiyot, A. (2000). Learning measurement techniques. 2nd edition. Bangkok: Suwiriyahit.

Sirithai, N. (2004). Knowledge about media literacy for good immunity for children and youth. Bangkok: Office of the Health Promotion Fund.

Sittikunthod, W. (2008). The development of causal model of media literacy of Mathayomsuksa 3 students in schools under the Jurisdiction of the Office of the Education Commission Basic Bangkok. Master of Education. Graduate School: Chulalongkorn University.

Surasonthi, K. (2012). Media literacy and political participation. Master of Business Communication Arts, 6(2), 43-62.

Worakitkasemsakun, S. (2010). Research methods in behavioral science and social sciences. Udon Thani: Arts and Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)