การศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อในบุญพิธีของชาวอีสานที่สอดคล้องกับคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท

ผู้แต่ง

  • พระมหาอภิสิทธิ์ วุฑฺฒิสฺสโร (เจริญราช) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูสุธีคัมภีรญาณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คติความเชื่อ, บุญพิธี, คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคติความเชื่อและพิธีกรรมในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 2) ศึกษาคติความเชื่อและพิธีกรรมของชาวอีสานที่สอดคล้องกับคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 3) วิเคราะห์คติความเชื่อในบุญพิธีชาวอีสานที่สอดคล้องกับคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาหนังสือ ตำรา และเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า คติความเชื่อและพิธีกรรมในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ได้แก่ 1) บุญเข้ากรรม 2) บุญคูณลาน 3) บุญข้าวจี่ 4) บุญซำฮะ 5) บุญข้าวสาก 6) บุญข้าวประดับดิน บุญทั้ง 6 นี้ เป็นคติความเชื่อและพิธีกรรมของชาวอีสานตามเดือนทั้ง 12 เดือนเรียกว่า ฮีต 12 ซึ่งสอดคล้องกับคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ได้แก่ เรื่องพญานาคเอรกปัตต์สอดคล้องกับบุญเข้ากรรม เรื่องบุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะสอดคล้องกับบุญคูณลาน เรื่องนางทาสีปุณณาสอดคล้องกับบุญข้าวจี่ เรื่องบุรพกรรมของพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับบุญซำฮะ เรื่องบุรพกรรมของอุรุเวลกัสสปะสอดคล้องกับบุญข้าวประดับดิน และเรื่องนางยักษิณีสอดคล้องกับบุญข้าวสาก
วิเคราะห์คติความเชื่อและพิธีกรรมในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ได้แก่ บุญเข้ากรรม เป็นคติความเชื่อในพิธีกรรมทางสงฆ์ (ตามพระวินัยบัญญัติ) บุญข้าวจี่เป็นคติความเชื่อในพิธีกรรมทางสงฆ์ (ทานมัย) บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากเป็นคติความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับความกตัญญู (บุญอุทิศ) บุญคูณลานและบุญซำฮะเป็นคติความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต

References

เกศนี นุชทองม่วง. (2546). อรรถกถาธรรมบท: การศึกษาในฐานะการสอนวรรณคดีบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2525). ฮีตสิบสองกองสิบสี่อีสานโบราณ: ระบอบการปกครองในอีสานรำลึก. กรุงเทพฯ: สมาคมคนอีสานกรุงเทพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: การศาสนา.

สวิง บุญเจิม. (2549). มรดกอีสาน. อุบลราชธานี: มรดกอีสาน.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)