การศึกษาวิเคราะห์การบูชาพระธาตุยาคูที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของ ชาวตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระนครินทร์ อนาลโย (พลชิวา)
พระโสภณพัฒนบัณฑิต
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและคําสอนเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุตามหลัก พระพุทธศาสนา 1) ศึกษาการบูชาพระธาตุยาคูของชาวตําบลหนองแปน อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ศึกษาวิเคราะห์การบูชาพระธาตุยาคูที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตของชาวตําบลหนองแปน อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นเอกสาร และสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิดและคําสอนเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการเคารพ การสักการะ การกราบไหว้ ยกย่องนับถือบุคคลที่ควรเคารพนับถือหรือสิ่งที่นับถือ ด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน ซึ่งแสดงออกมาด้วยกิริยาอาการของผู้เลื่อมใส การบูชามี 2 อย่าง คือ อามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา
2. การบูชาพระธาตุยาคูของชาวตําบลหนองแปน อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการบูชาด้วย ความเชื่อในเรื่องของการทําบุญตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ชาวชุมชนเป็นผู้มีธรรมประจําใจเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก มีความเคารพนับถือกันช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน และมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
3. การบูชาพระธาตุยาคูมีผลต่อการดําเนินชีวิตของชาวตําบลหนองแปน อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถการวิเคราะห์ได้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเชื่อ เป็นเรื่องของบาป บุญ คุณ โทษ เชื่อในเรื่องกรรม ผลของการทํากรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมดี กรรมชั่ว ด้านเศรษฐกิจ มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ด้านครอบครัว เกิดความสามัคคีและความอบอุ่นภายในครอบครัว ด้านสังคม มีการเกิดความเอื้ออาทร และมีการสร้างแรงจูงใจร่วมกัน ด้านพระพุทธศาสนาชาวหนองแปนได้มีการบูชาพระธาตุยาคูเป็นการ แสดงออกถึงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย คือ บูชาพระพุทธ บูชาพระธรรม และบูชาพระสงฆ์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

น. ณ ปากน้ำ. (2524). ศิลปบนใบเสมา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

พระครูพิมลธรรมาภรณ์ (บัวฮอง อคฺคธมฺโม/ศรีจันทร์ก่ำ). (2557). ศึกษาเชิงวิเคราะห์การบูชาตามหลักพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีการทำบุญพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พระมหาประสพฤกษ์ จารุวาโท (รัตนยงค์). (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องการบูชาในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรุณศักดิ์ กิ่งมณ. (2541). ใบเสมาสลักภาพเตมียชาดกที่พระธาตุเมืองแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ศิลปากร, 41(5), 56-66.