รูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวิน ทองปั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ไพทูรย์ มาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอี่ยม อามาตย์มุลตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กระบวนการ, ยุทธศาสตร์, สภาพลเมืองเชิงพุทธ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบาย กระบวนการ และกิจกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่น 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธในจังหวัดขอนแก่น 3) เสนอยุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นโยบาย กระบวนการ และกิจกรรมการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พบว่า นโยบายพัฒนา ได้แก่ หลักการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธ์กิจ และยุทธศาสตร์ ส่วนกระบวนการพัฒนา ได้แก่ วิธีการขับเคลื่อนภาคประชาชนในการพัฒนาพื้นที่โดยไม่พึ่งพารัฐ กิจกรรมการพัฒนา ได้แก่ การร่วมกันพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ร่วมกันพัฒนาระบบพื้นฐานของโรงพยาบาลแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงกัน และร่วมโครงการศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลและศูนย์ข้อมูลจังหวัดขอนแก่น
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธในจังหวัดขอนแก่น พบว่า สภาพลเมืองทำงานร่วมกันโดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือทำงานด้วยจิตอาสา และนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการทำงาน การจัดเวทีสาธารณะให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน การวางแผนร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกัน การปรึกษาหารือกัน การสร้างกัลยาณมิตรในการทำงานร่วมกัน
3. ยุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารจัดการสภาพลเมืองเชิงพุทธในจังหวัดขอนแก่น พบว่ายุทธศาสตร์การบริหารจัดการมี 5 ด้าน คือ 1) เมืองสีเขียวและสะอาด 2) เมืองสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัย 3) เมืองธรรมาภิบาล 4) เมืองทันสมัย สมดุล และยั่งยืน 5) เมืองประชาธิปไตย ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการมี 5 ด้าน คือ 1) การทำงานร่วมกัน 2) มีการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ 3) การเรียนรู้ร่วมกัน 4) การสร้างพลังปัญญาของชุมชน 5) การกระจายอำนาจสู่ประชาชน

References

Chanruang, S. (2014). Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj. Journal of Cultural Approach, 15(28), 17-26.

Phetpradub, Ch. and Meeseng, S. (n.d.). has the light of “Khon Kaen Next Decade” and “Khon Kaen Reform Assembly” social capital towards building “Citizen Power”, Citizen Assembly Process for Democratic Development and Public Participation. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.

Phra Phutthakosthera, (2003). Wisuttimak Scripture, Translated by Somdej Phra Puttacharn (Arsaphamahathern). 4th edition. Bangkok: Prayoon Wong Printing Co., Ltd.

Phra Thampitaka (P.A. Payutto). (2002). Statute of Life. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.

The Secretariat of the House of Representatives. (n.d.). Citizen Assembly, Democratic Development Process and People Involvement. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)