แนวทางการนำหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวัยแก้ว

Main Article Content

พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
อดุลย์ หลานวงค์
พระกิตติ สารสุธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและปรัชญาเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษากิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ของโครงการโรงเรียนวัยแก้ว ตำบลหนองซอน อำเภออำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ผู้สูงอายุของนักเรียนผู้อายุโรงเรียนวัยแก้ว ตำบลหนองซอน อำเภออำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิด ทฤษฎีและปรัชญาเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุดำเนินการภายใต้แนวคิดการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า “ผู้สูงอายุมีคุณค่าและมีศักยภาพ ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้มีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้สังคม”
2. กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัยแก้วพบว่า เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยทุกภาคส่วน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง” และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมในการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขทั้งกายและจิตใจ เกิดทักษะในการดูแลตนเองอย่างมีคุณภาพ
3. แนวทางการนำหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัยแก้วพบว่า การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ (นักเรียนวัยแก้ว) ผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคทางกาย จิตใจ สังคมและปัญญา เช่น การเดินจงกรมกรรมฐานนำสู่ความสุขภาพกายแข็งแรง การสวดมนต์ไหว้พระนำเข้าความเป็นผู้มีจิตใจสงบ การประพฤติศีลทำให้ไม่เกิดความขัดแยงในสังคมและการเจริญภาวนาเป็นการทำให้รู้แจ้งในอารมณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Foundation Research Institute and development of the Thai elderly. (2012). Annual Situation of the Thai Elderly 2010. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute, Ministry of Social Development and Human Security.

Gray, R., et al. (2008). The development of population registration and population census in Thailand. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University.

Ministry of Social Development and Human Security. (2001). the Act on the Elderly, B.E. 2546 (2003 A.D.). Bangkok: Publisher of Agricultural Cooperatives of Thailand.

Nawawongsathean, U. and Keawkamsorn, N. (2018). Curriculum development of the elderly school on health promotion for the elderly, social group in Sriwilai sub-district, Sriwilai district, BuengKan Province. Journal of Health Science and Community Public Health: JHSCPH, 1(1), 70-81.

Office of Social Welfare Services. (2005). Department of Social Development and Welfare, section for standard of social welfare services. A Study of Structure and Pattern of the Elderly Social Welfare Development Center. Bangkok: Borphit Printing Co., Ltd.

United Nations. (2009). World population prospects: the 2008 revision. Volume II: sex and age distribution of the world population. New York: United Nations.

Yamekaew, J. (2019). Activity Formats for the Elder People in Happiness School of Taidong Sub-District Wangpong District Phetchabun Province. http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/444-25600830143935.pdf (Accessed 15 April 2019).