เจตนาในอทินนาทานของพระธนิยกุมภการบุตร

ผู้แต่ง

  • พระมหาพงษ์ศิริ คมฺภีรเสฏฺโฐ (นามแสง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระโสภณพัฒนบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหามิตร ฐิตญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

เจตนา, อทินนาทาน, พระธนิยกุมภการบุตร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตนาในอทินนาทานของพระธนิยกุมภการบุตร เจตนานั้น โดยที่ปกติเมื่อบุคคลแสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏคนทั่วไปก็ย่อมเข้าใจได้ว่า เจตนาที่แสดงออกนั้นย่อมเป็นไปตามเจตนาแท้จริงที่อยู่ภายใน แต่ก็มีกรณีที่การแสดงเจตนาที่ปรากฏออกมาภายนอกหาได้ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของผู้แสดงเจตนาแต่ประการใดหรือต้องตรงกันเพียงบางส่วนเท่านั้น จากการศึกษา เนื่องจากพระธนิยะ มีความต้องการสร้างกุฏิแต่คนหาบหญ้าและคนหาฟืน ได้รื้อกุฎีหญ้าของท่านแล้ว
ขนเอาหญ้าและไม้ไปถึง 3 ครั้ง ต่อมาท่านจึงคิดวิธีทำกุฎีจากดิน และสุมไฟให้ดินสุกเหมือนหม้อดินเผา พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นว่า ภายหน้าภิกษุทั้งหลายจะกระทำการเบียดเบียนสัตว์ในดิน จึงทรงตำหนิและให้ทำลายกุฎีดินเผาเสีย ท่านก็ยินยอมด้วยดี เมื่อเป็นดังนี้พระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีด้วยไม้ จึงไปขอไม้กับพนักงานผู้รักษาไม้หลวงก่อน แสดงให้เห็นว่าพระธนิยะไม่มีปุพพเจตนาคือเจตนาก่อนจะกระทำอทินนาทานมาแต่แรก แต่ก็มีความผิดเพราะมีเจตนาและได้กระทำการถือเอาวัตถุนั้น ด้วยความที่พระธนิยกุมภการบุตร เป็นอาทิกัมมิกะบุคคล ผู้ต้นบัญญัติสิกขาบท จึงได้รับการยกเว้นไม่เป็นอาบัติ

References

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2562). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง. (พิมพ์ครั้งที่ 42). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นคร จันทราช. (2559). เจตนากับความรับผิดชอบทางศีลธรรมในมุมมองพุทธจริยศาสตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(1), 72-82.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมชาย พฤกษ์ชัยกุล. (2539). เจตนาย่อมเล็งเห็นผล: วิเคราะห์รูปแบบ ทฤษฎีและการปรับใช้. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพล ธรรมรัตน์. (2553). การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนกับศีลข้ออทินนาทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)