ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ: กรณีศึกษาคำเรียกสีจีวรพระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ขนิษฐา น้อยบางยาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคำเรียกสีจีวรในพุทธศาสนา 2) ศึกษาเรื่องคำเรียกสีวีจรของพระสงฆ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ 3) วิเคราะห์การใช้คำเรียกสีจีวรตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่ถูกต้องตามวินัยสงฆ์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ตำรา เอกสารทางวิชาการ และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า แนวความคิดเรื่องสีจีวรของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยพุทธกาล พบว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหมผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยของผสมกันและทรงอนุญาตเกี่ยวกับน้ำย้อมจีวร ดังต่อไปนี้คือ น้ำย้อมที่เกิดจากรากหรือเหง้า น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ และรูปแบบการใช้สีวีจรของพระสงฆ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พบว่า ในสมัยสุโขทัยจะไม่ใช้จีวรโทนที่เรียกว่าสีเหลือง ที่มีสีอื่นปน ซึ่งเรียกว่าสีเหลืองล้วน ซึ่งหมายถึงสีเหลืองดอกคูน จะนิยมใช้สีที่เรียกว่าเหลืองแก่นขนุน แต่เนื่องจากในสมัยสุโขทัยมีคำเรียกสีน้อย เท่าที่พบสมัยสุโขทัยจะมีคำเรียกสีจำกัด มี 5 สีเรียกว่า สีเบญจรงค์ ได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว และสีเหลือง แต่ในการย้อมสีจีวร จะไม่ย้อมสีเหลืองล้วน เพราะผิดพระวินัย จึงย้อมสีเหลืองปนสีอื่น ซึ่งจะไม่ผิดพระวินัย ส่วนสีจีวรในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ใช้สีจีวร 2 สี คือ พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายนิยมใช้สีที่ใช้คำเรียกว่าสีกรัก สีแก่นขนุน และพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายจะใช้สีที่ใช้คำเรียกว่าเหลืองทอง ส่วนสีพระราชนิยมเป็นสีที่มีอยู่ตรงกลางระหว่างสีจีวรทั้งสองนิกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธนัฏฐากุล พรทิพยพานิช. (2557). คำเรียกสีในภาษาไทยสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกแปลฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิพาที ทิพย์คงคา. (2553). คำเรียกสีในภาษาไทยสมัยอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภมาศ เอ่งฉ้วน. (2543). คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน.(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2532). วินัยมุข เล่ม 2. (พิมพครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2538). คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brent B. and Paul K. (1969). Basic color terms: Their universality and evolution. Berkley and Los Angeles: University of California Press.