การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระประนม ฐิตมโน (กุลภู)
สาคร มหาหิงค์
สมควร นามสีฐาน
พรชัย วันทุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 127 รูป และกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอน จำนวน 12 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน มากที่สุด ได้แก่ด้านการดำเนินการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 รองลงมาได้แก่ ด้านสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และด้านการจัดการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ส่วนปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการจัดบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ด้านการจัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และด้านปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ตามลำดับแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้าน บ้านวัดโรงเรียนได้รับประโยชน์จากการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และด้านการพัฒนาศีลสมาธิและปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ตามลำดับปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะเชิงคุณภาพพบว่า ไม่มีแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ข้อเสนอแนะและแนวทางปรับปรุงแก้ไข ควรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักไตรสิกขาในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ตามความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Bhikkhu, B. (1982). Buddhadasa and education. Journal of Education Studies. Vol 11. (1982). Bangkok : Aksorn Chareonat.
Kittisak, B. (1985). Educational ethics. Bangkok : Kasetsart University.
Office of the National Primary Education Commission. (1998). Advance to standard Learning.towards life skills: ideas, guidelines for the development of children to be good, smart, happy and the power to create a beautiful world. Bangkok: Office.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2005). Dictionary of Buddhism. (10th ed). Bangkok : Faculty of Dharma.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1994). Education for sustainable civilization. Bangkok : Sahathamik Company Limited.
Phra Ratchaworamuni (P.A. Payutto). (1982). Expanded version of Dharma. Bangkok : Faculty of Dharma.
Phra Tepsophon (Prayoon Dhammacitto). (2004). Buddhist Oriented Schools. Bangkok : Mahachulalongkornnajavidyalary University Printing house.
Sripahol, S. (2014). Development of a Distance Training Package on Organizing Instruction in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area for Teachers Teaching at the Secondary Education Level in Education Expansion Schools. Research Report. Sukhothai Thammathirat Open University.
Tirakanan, S. (1999). Social Sciences Research Methodology: Guidelines for Practice. Bangkok : Chulalongkorn University.