ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระมหาวชิระ ไผ่โสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และศึกษาการได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประชากร คือ นักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 240 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package to the Social Science: SPSS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาค่า t-test และ Chi-Square กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 12-16 ปี ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว พนักงานบริษัทเอกชน พนักงานราชการ ผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนๆ ละ 10,000-20,000 บาทต่อเดือนผลของการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ด้วยตนเอง จากครอบครัว จากโรงเรียน จากสถาบันศาสนา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.84 อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนด้าน มีวินัย ซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที เมตตา ประหยัด สามัคคี ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.01 อยู่ในระดับมาก
การวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไป คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพของผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองกับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพของผู้ปกครองที่ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรม จริยธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการศึกษา โรงเรียนควรสนับสนุนการสร้างหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้งส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจและพัฒนาในด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วยตนเองผ่านหนังสือ ตำรา สื่อเรียนรู้ประจำห้องสมุด และกิจกรรมต่างๆที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและควรสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนมีความประพฤติด้านการประหยัด โดยสนับสนุนการออมทรัพย์ รู้จักใช้เงินและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดผ่านโครงการสหกรณ์ของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Kaewpeng, C. (2003). Students’ Ethics and Moral Development in Reverence Dharma at Chiangkham Wittayakom School, Chiangkham District, Phayao Province. Master of Education. Educational Administration.
Piyakarn K. (2010). Ways to cultivate moral lntegrity and ethics to the youth. The degree of master of labour and welfare development faculty of social amninistration Thammasat university.
Ministry of Education. (2018). Office of Basic Education Commission.
Ministry of Education. (2017). The National Education Plan (2017-2036).
National Institute for Child and Family Development Mahidol University. (2008). Feature research project And the process of instilling morality and ethics in Thailand. Research Center Developing Moral Power in Morality: Office of Knowledge Management and Development.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National strategy. Retrieved May 29, 2019, from www.nesdb.go.th.
Phra Bamrung Panyaphalo (Phosri). (2011). Impacted Factors Toward Virtue and Morality of Students at Siam Technology College in Bangkok Yai District Bangkok. Master of Arts Educational Administration Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra maha Thuwan Vorrawanprecha. (2009). Guidelines for Moral and Ethical promotion for the Youth in School: Case Study of Wisetchaichan Tantivitayapoom, Wisetchaichan District, Angthong Province. the Degree of Master of Social Work in Education Social Welfare Administration and Policy Department of Social Work Faculty of Social Administration Thammasat University.
Thestham W. (2017). The Factors Affecting to Strengthening Morality and Ethics of Students in Yasothon Buddhist College Mahamakut Buddhist University. Faculty of Education Mahamakutbuddhist University Yasothon Buddhist College.