การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์สิรภพ ฐิตสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สาคร มหาหิงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • รัชนี จรุงศิรวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ ลักษณะปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 265 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และครูที่ทำการสอนในหมวดวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จังหวัดนครพนมในภาพรวมระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
2. ลักษณะปัญหาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จังหวัดนครพนมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จังหวัดนครพนม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ควรจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ประเมินผล ปัญหาด้านต่างๆ 2) ควรจัดการเรียนรู้การสร้างปัญหา ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา 3) ควรจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเข้าใจในปัญหาด้านต่างๆ ในการเรียนวิชาสังคมศึกษา 4) ควรนำประโยชน์ในการชอบใฝ่หาความรู้ของนักเรียนจากสื่อต่างๆ เพื่อจัดทำแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องใฝ่ศึกษาของนักเรียนให้เกิดประโยชน์มากขึ้น 5) ควรจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนเกิดความสามัคคีในการทำงานเป็นทีม และเป็นการแชร์ความรู้ในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ และ 6) ควรเสริมการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความสนใจในการสืบค้นข้อมูลของนักเรียนให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษาต่อไป

References

Buạdæng, K.(2010). A study of learning outcomes on environmental awareness of mathayom suksa five students who provided learning by using problems as a base. Master of Education Thesis Graduate School Program and Supervision Silpakorn University.
Banphotsut, M. (2010). Developing the ability to think and solve life skills problems Of mathayom suksa two students by problem-based learning management. Master of Education Thesis Department of Curriculum and Teaching Method Department of Curriculum and Teaching Method Faculty of Education Silpakorn University.
Kamlangleis, L. (2015). The development of Thai language learning achievement Subject: Compilation of Prathom Suksa V students by using cooperative learning activities using STAD techniques to supplement skills practice. Thesis, Bachelor of Education, Maha Sarakham Rajabhat University.
Ministry of Education. (2008). Basic Core Education Curriculum. Bangkok: Assembly Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Limited.
Srisakorn, S. (2004). The Development of Problem Solving Ability of Mathayomsuksa 2 Students Learning Management by Using Future Problem Solving Techniques. Master's thesis Department of Curriculum and Supervision Silpakorn University,.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)