การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระมหาเอกชัย วิสุทฺโธ
สมควร นามสีฐาน
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษา การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านจริยธรรม ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านจริยธรรม ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านความรับผิดชอบ ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การศึกษานี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 354 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบ ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์ และด้านจิตอาสา การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบ ในการเรียนสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำแนกตามระดับชั้นเรียน โดยการทดสอบค่า F โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบ ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คุณลักษณะผู้เรียนด้านความรับผิดชอบด้วยหลักอิทธิบาท 4 การจัดการเรียนรู้ ความรับผิดชอบเป็นลักษณะของความเป็นพลเมืองที่ดีที่สำคัญอย่างหนึ่งความรู้สึกรับผิดชอบเป็นลักษณะนิสัยและทัศนคติของบุคคลซึ่งเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามระเบียบเคารพสิทธิของผู้อื่นทำตามหน้าที่ของตนเองและมีความซื่อสัตย์สุจริตการที่บุคคลมีลักษณะความรับผิดชอบจะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยความราบรื่นสงบสุขนอกจากนี้ความรับผิดชอบอย่างเป็นคุณธรรมสำคัญในการพัฒนาประเทศหากคนในชาติมีความรับผิดชอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Bancha Tha Thong. (2014). Study the use of the power of the baht 4, develop the
responsibility of grade students Grade 6 Ayutthaya College, Mahachulalongkorn
rajavidyalaya University. Master of Buddhist Thesis, Graduate School, Mahachu
lalongkorn University Royal College, Abstract.
Nalin Rueangbut. (1999). Problems about organizing moral promotion activitiesEthics in the process found Distance learning method group For junior high school students, Yasothon Province. Graduate School Mahasarakham University, Study Report Independent study, Master's degree The field of educational administration.
Office for National Education Standards and Quality Assessment Public organization. (2004). National Education Act 1999 Amendment No. 2 2002. Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment Public organization.
Office of the National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister. (2016). National Economic and Social Development Plan 11, 2012-2016. Bangkok : Office of the Prime Minister.
Siriwan Sri Phahon (2013). The Development of Distance Training Package for Social Studies Teachers on Teaching and Learning Development of Distance Training Package for Schools on Teaching and Learning for Moral Development Ethics for students according to the philosophy of sufficiency economy. Research Report. Social Services Project: Sukhothai Thammathirat Open University
Subcommittee on the Creation of Values Cultivation Manual. (1983). Meaning of responsibility. Retrieved 10 July,2 www.sahavicha.com/?name =blog&file