ปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

ผู้แต่ง

  • เสาวนิต เมียนแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • รัตนา ดวงแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เก็จกนก เอื้อวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยคัดสรรด้านการบริหาร, ประสิทธิภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 2) ศึกษาประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารกับประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 285 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยคัดสรรด้านการบริหารทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติ
4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการนำนโยบาย การปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญ มี 3 ปัจจัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ การกำกับตรวจสอบและประเมินผล การสนับสนุนและส่งเสริมทรัพยากร และสมรรถนะองค์การและภาวะผู้นำ โดยทั้ง 3 ปัจจัยร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการนำนโยบายการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 76 และสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานปรากฏ ได้แก่ Z = .848 (X5) + .269 (X4) + .192(X2)

References

กล้า ทองขาว. (2548). การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ แนวคิด ทฤษฎีและแนวการดำเนินงาน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2557). หน่วยที่ 3 การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ. ใน ประมวลสาระชุดวิชานโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 1-5. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (2560). รายงานผลการดำเนินโครงการการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปีการศึกษา 2558. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.

วราลักษณ์ สนิท, รัตนา ดวงแก้ว, และเก็จกนก เอื้อวงศ์. (2563). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 225-237.

ศรีแพ ผลบุญ. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการดำเนินงานการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย “ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” และ “นักเรียนชั้น ป.1 เมื่อจบชั้น ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้และมีมาตรการการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: แม็ทช์พอยท์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). หนังสือครูมือการดำเนินงานอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การประเมินผลการนำนโยบายการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สู่การปฏิบัติระดับ ประถมศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 16(32), 91-106.

สุวรรณี ยหะกร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 11(1), 79-89.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)