ภาวะผู้นำผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

พระประสิทธิ์ สุเขธิโต (บุญหนา)
สุรพล พรมกุล
ชาญชัย ฮวดศรี
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม 7ของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส 3) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใสตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 386 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กุดน้ำใส โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส พบว่า ประชาชนที่มี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน
4. ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า ผู้นำท้องถิ่นควรยึดถือหลักการและการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีขั้นตอน วางนโยบายที่มีเป้าหมายและคุ้มค่า มีจิตใจโอบอ้อมอารี และเสียสละ แสดงภาวะผู้นำต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กำหนดนโยบายในการบริหารบริหารงานอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

เกศสุดา โภคานิตย์ และกีฬา หนูยศ. (2559). บทบาทของผู้นำท้องถิ่น: กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. (รายงานการวิจัย). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ฉัจชิสา เพชรหนองชุม. (2547). ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาองค์บริหารส่วนตำบลในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. (การศึกษาอิสระการจัดการมหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ธนสรร ธรรมสอน และบุญทัน ดอกไทสงค์. (2558). ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีในการบริหารเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์.

บวรศักด์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

ประนอม แมนมาศวิหค. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประสิน วีระกุล. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี. (การศึกษาอิสระรัฐปรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาสุพัฒน์ สิริวณฺโณ. (2552). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิรัต สุกอินทร์. (2553). ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการจังหวัดอุทัยธานีตามหลักสัปปุริสธรรม 7. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภชัย เอาะน้อย. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีกรณีศึกษา: เทศบาลเมืองพังงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.