การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระชัชชัย สมนฺตาสาทิโก (มงคลเมือง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ชาญชัย ฮวดศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุรพล พรมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ภาสกร ดอกจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้นำท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 390 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยการคำนวณด้วยการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่น 95% และการใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสอบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ทั้ง 5 ด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ พบว่าควรมีการตรวจสอบติดตาม รับทราบข้อมูลผลงานของผู้นำท้องถิ่นรับฟังนโยบายการพัฒนาแก้ปัญหาของชุมชนและมีความรักพอใจในสิ่งที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียนในการทำงาน มีความเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ และใช้ปัญญาไตร่ตรอง ตรวจสอบ

References

กมล เข็มนาจิตร์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(17), 80-89.

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 109-125.

คันธรส แสนวงศ์. (2559). ความรู้สึกสัมฤทธิผลทางการเมืองและความสนใจทางการเมืองของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2558). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 151-164.

ปัทมา สูบกำปัง. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนในกระบวนการนิติบัญญัติ: บทเรียนจากการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2562). ข่าวสารการเมืองของคนไทย. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2561). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุกฤตา จินดาพรม และโชติมา แก้วกรอง. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครอง, 3(2), 118-133.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. English: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)