มาตรการทางกฎหมายอาญาในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มเครือข่ายอิทธิพล ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู

Main Article Content

เพิ่ม หลวงแก้ว
ฉัตรชัย รือหาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และเพื่อหามาตรการทางกฎหมายอาญาที่เหมาะสมในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มเครือข่ายอิทธิพลในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
การบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มีรูปแบบและพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การใช้วิธีการที่มิชอบในกระบวนการสรรหากรรมการดำเนินงานสหกรณ์ การว่าจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การใช้ตำแหน่งทำการทุจริตเกี่ยวกับการบริหารงานของสหกรณ์ การใช้เครือข่ายกลุ่มอิทธิพลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งเป็นระบบและไม่เป็นระบบและการใช้ช่องว่างระเบียบการกู้เงินของสหกรณ์ รวมทั้งมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการตีความ และการรวบรวมพยานหลักฐานด้วย ส่วนมาตรการทางกฎหมายอาญาที่เหมาะสมในการป้องกันกลุ่มเครือข่ายอิทธิพลที่จะนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบคือ 1) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือหน่วยงานอื่นที่ปราศจากการแทรกแซงจากเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลเป็นผู้ควบคุม ผู้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสหกรณ์ ให้กระบวนการสรรหาเป็นไปโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย 2) ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกระเบียบการสรรหากรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ 3) ให้มีบทกำหนดโทษผู้สมัครเข้ารับการสรรหาที่กระทำการโดยมิชอบกฎหมายหรือรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครเป็นกรรมการสหกรณ์ 4) ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาของกรรมการสหกรณ์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการทางวินัย และให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย 5) ให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ให้สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเป็นผู้เสียหายเพื่อป้องกันมิให้มีปัญหาเรื่องการตีความกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

เฉลิมพล พลมุข. (2561). ทฤษฎีสมคบคิด. เข้าถึงได้จาก http://www.matichon.co.th

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด และคณะ. (2561). การศึกษาเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) ของภาคการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขตที่ 24, 25, 26 (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายล่อฟ้า. (2559). การคอร์รัปชันในวงราชการ. ไทยรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2559, หน้า 6.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2559). ผู้มีอิทธิพล. เข้าถึงได้จาก http://www.wiki.kpi.ac.th

Alba de, D. (2017). What is the difference between corruption and organized corruption. Retrieved from http://www.quora.com/What-is-the-difference-between-corruption-and-organized-corruption

Cynado Cyril N. O. Ezeogidi. (2013). The Concept of Organized and Chaotic Corruption and the Impact on Nigeria Economy. Journal of Humanities and Social Science, 16(2), 73-77.

Heinzpeter, Z. (2009). Deep Corruption in Indonesia, Discourses, Practices, Histories. In Anders, Gerhard and Nuijten, Monique (Eds.), Corruption and the Secret of Law: Law, Justice and Power (pp. 53-74). Burlington: Ashgate.