การป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ EM : เครื่องมือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำสำหรับงานคุมประพฤติ

Main Article Content

ปิยะนุช มาสิงห์
สุวิน ทองปั้น
จรัส ลีกา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยใช้เครื่อง EM ซึ่งเป็นเครื่องมือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำสำหรับงานคุมประพฤติ ซึ่งในปัจจุบันภาครัฐประสบกับปัญหาผู้ต้องโทษล้นเรือนจำ และปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อมาตรการลงโทษผู้กระทำความผิด เพื่อป้องกันปัญหานักโทษล้นเรือนจำ เพื่อลดความแออัดนักโทษในเรือนจำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้กระทำผิดตามภารกิจของงานคุมประพฤติตามที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติ ที่นำมาใช้กับผู้ถูกคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 สำหรับนักโทษที่ได้รับการพักการลงโทษ ผู้ที่ได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. (2564). คู่มือปฏิบัติงานการใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ติดตามตัว. กรุงเทพฯ: กองอานวยการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุมประพฤติกรมคุมประพฤติ.

กรมคุมประพฤติ. (2550). เอกสารประกอบการอบรมอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชาริณี กระตุฤกษ์. (2560). การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาล. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บุรฉัตร ปราโมช ณ อยุธยา. (2556). การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ควบคุมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาในประเทศไทย. การอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 11. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

ภัควรินทร์ พิชญะพงศ์สกุล และคณะ. (2562). โอกาสและข้อจำกัดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) มาใช้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นเยาวชน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2542). เอกสารกำไลสอนชุดวิชชา อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

วิชัย ลีลาสวัสดิ์. (2557). การนำเครื่องมือติดตามตัว (Electronic Monitoring) มาใช้กับผู้ถูกควบคุมความประพฤติ ในศาลแขวงพระนครเหนือ. ผลงานวิจัยหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 13. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: วัดญาณเวศกวัน.