การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ: กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

รณวีร์ พาผล
จารุณี นาคเจริญ
ณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความของนักศึกษา และ 2) วิเคราะห์สาเหตุของข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความของนักศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คัดเลือกแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ จำนวน 27 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนเรียงความ (ENG 3212) ในภาคการศึกษาที่ 1/2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการเขียนเรียงความตามโจทย์ My Favorite Place โดยจำกัดความยาวการเขียนที่ 350-400 คำ ในเวลา 2 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือหรือตำราอ้างอิงขณะทำแบบทดสอบ ในการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการตรวจงานเขียนของนักศึกษาจำนวน 27 ชิ้นงาน เพื่อหาข้อผิดพลาดในการเขียน และสามารถจำแนกออกได้เป็น 25 ประเภท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อผิดพลาดทั้งหมดที่พบในแบบทดสอบได้มานับจำนวนครั้งพร้อมทั้งหาค่าร้อยละของข้อผิดพลาดในแต่ละประเภท เพื่อวิเคราะห์หาประเภทข้อผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดจากมากไปน้อย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด 5 เรียงจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ การเขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์ (Sentence Fragment) 18.44% เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation) 13.5% คำนำหน้าคำนาม (Article) 12.08% คำกริยาผิดรูปกาล (Verb Tense) 10.49% และอับดับที่ห้า การเลือกใช้คำศัพท์ (Word Choice) 8.59% ตามลำดับ
2. จากการวิเคราะห์สาเหตุของข้อผิดพลาดทางการเขียนเรียงความของนักศึกษาทำให้พบว่าข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของการถ่ายโอนภาษาแม่ไปยังภาษาเป้าหมาย นักศึกษายังไม่เข้าใจข้อแตกต่างของกฎไวยากรณ์ โครงสร้างประโยคพื้นฐานและประโยคที่ซับซ้อน ส่งผลให้ไม่สามารถเขียนประโยคที่สมบูรณ์ได้ ใช้เครื่องหมายวรรคตอน และคำนำหน้าคำนามผิด ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางการเขียนภาษาอังกฤษดังกล่าว สามารถนำไปเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนทักษะการเขียนสำหรับผู้สอนภาษาอังกฤษต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.

เกศิณี บำรุงไทย. (2554). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษระดับย่อหน้าของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร.

นัสยา ปาติยเสวี. (2561). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในการเขียนอีเมล์ธุรกิจของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 815-833.

วันทนี แสงคล้ายเจริญ. (2561). การศึกษาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในงานเขียนภาษาอังกฤษและกลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 538-554.

สิทธิศักดิ์ พงผือฮี. (2555). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุคนธา ฟูสุวรรณ. (2562). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกาชั้นปีที่ 4 สาขาภาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัจฉรา เพ่งพานิช. (2530). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Camilleri, G. (2004). Negative transfer in Maltese students’ writing in English. Journal of Maltese Education Research, 2(1), 3-12.

Chen, H. C. (2004). Asymmetrical performance of English null subjects and null objects for Chinese college students. Selected papers from the thirteenth international symposium on English teaching (138-148). Taipei: The Crane Publisher.

Dulay, H., Burt, M., & Krashen, S. (1982). Language Two. New York: Oxford University Press.

Fahmida, B. (2010). Bangladeshi Tertiary Level Students’ Common Error in Academic Writing. (Master of Arts in Applied Linguistics and ELT). BRAC University. Dhaka.

Hayati, W. (2019). An Analysis of Written Errors: A Case of Second Semester Students of English. LET: Linguistics, Literature and English Teaching Journal, 9(1), 77-87.

Heaton, J. B. (1975). Writing English Language Tests. New York: Longman Inc.

Huang, S. J. (2001). Error analysis and teaching composition. (Master Thesis). National Tsing Hua University. Hsinchu.

Khasawneh. F., (2014). Error Analysis of Written English Paragraphs by Jordanian

Undergraduate Students: A Case Study. International Journal of English Language, Literature and Humanities, 2(13), 2321-7065.

Sawalmeh, M. (2013). Error Analysis of Written English Essays: The case of Students of the Preparatory Year Program in Saudi Arabia. English for Specific Purpose World, 14(40), 1-17.

Richards, J. C. (1974). Error Analysis: Perspective on Second Language Acquisition. London: Longman Group Ltd.

Ridha, N. (2012). The Effect of EFL Learners' Mother Tongue on their Writings in English: An Error Analysis Study. Journal of the College of Arts, University of Basrah, 1(60), 22-45.

Sarfraz, S. (2011). Error Analysis of the Written English Essays of Pakistani Undergraduate Students: A Case Study. Asian Transactions on Basic & Applied Sciences, 1(3), 5-29.

Jenwitheesuk, T. (2009). A Study of Persisted Syntactic Errors in Writing of the 3rd Year Students of English for International Communication Program. In Proceedings of International Conference on the Role of University in Hands-On Education (pp. 982-986). Chiang Mai: Rajamangala University of Technology Lanna.

Tribble, C. (1996). Writing. Oxford: Oxford University Press.