การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์และการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด น้อมนบวันทาพระมหาธาตุหล้าหนอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา

ผู้แต่ง

  • เกษร วรรณราช สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย

คำสำคัญ:

ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์, การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์, เอกสารประกอบการเรียนการสอน, นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด น้อมนบวันทาพระมหาธาตุหล้าหนอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด น้อมนบวันทาพระมหาธาตุหล้าหนอง 2) หาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนการสอน 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของผลการเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 5) ประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ 6) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
7) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา จำนวน 35 คน คัดเลือกโดยใช้เทคนิคการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด น้อมนบวันทาพระมหาธาตุหล้าหนอง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ แบบประเมินคุณลักษณะอันประสงค์
และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1 / E2 ค่า E.I. และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent Samples Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด น้อมนบวันทาพระมหาธาตุหล้าหนอง มีประสิทธิภาพ 84.43/88.26
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.22/91.04
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7218 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.18
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผู้เรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละ 44.00
6. เปรียบเทียบพฤติกรรมการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 44.00
7. ผู้เรียนมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกสุม สวัสดิ์พูน. (2555). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ระบำนางรองรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์.

เขียน วันทนียตระกูล. (2552). หลักและวิธีการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.

ชุติกาญจน์ มัดถาปะโท. (2556). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณภัทรพล โสตธนาภูรินทร์. (2556). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนการปฏิบัติซออู้ โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพลงรำวงย้อนยุคสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ทองพูล ภูสิม, ศักดิ์พงศ์ หอมหวน และสมบัติ ฤทธิเดช. (2554). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม., 6(1), 175-186.

นฤดล ดาวดวง. (2554). เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง องค์ประกอบดนตรีสำหรับนักเรียนโครงการจัดการศึกษานอกระบบ โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

นิตยา เต็งประเสริฐ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติ ชุด ระบำไก่ วิชาดนตรี-นาฏศิลป์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปฏัก สินทร. (2556). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาปฏิบัติกีตาร์ 3 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาดนตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พัทยา ปงมะจักร. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีไทยกับสุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พิมพวรรณ รวมจิตต์. (2552). ผลการใช้ชุดการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองเรื่องฟ้อนปู่จาพระพุทธสิงห์แซ่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาลา โพธิสว่าง. (2551). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโดยใช้รูปแบบแผนการเรียนรู้ แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รังษิยา งามวงศ์. (2558). การประดิษฐ์ท่ารำประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ฟ้อนบัวสวรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เรณู โกศินานนท์. (2548). สืบสานนาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วงเดือน พลบูรณ์. (2552). กุดดินจี่พิทยาคม, โรงเรียน. การใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เซิ้งประยุกต์เทิดไท้องค์ราชันย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.

สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2550). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน นาฏศิลป์ ม.4-6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุมารี นาสมตอง. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงไทยสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)