การวิจัยและพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด ออนซอนโพนพิสัย ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน สำหรับนักเรียนที่เรียนชุมนุมนาฏศิลป์
คำสำคัญ:
ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์, เอกสารประกอบการเรียนการสอน, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน, นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด ออนซอนโพนพิสัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ 2) สร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด ออนซอนโพนพิสัย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ 5) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้างดงกำพี้ จำนวน 96 คน คัดเลือกโดยใช้เทคนิคการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด ออนซอนโพนพิสัย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1 / E2 ค่า E.I. และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent Samples Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด ออนซอนโพนพิสัย มีประสิทธิภาพ 87.65/88.53
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ ผู้เรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก
5. ความพึงพอใจของผู้เรียนมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กนกภรณ์ เวียงคำ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) เรื่อง เรือมกะลาสราญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา อินทรสุนานนท์ และรุจี ศรีสมบัติ. (2552). รำวงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
โกสุม สวัสดิ์พูน. (2555). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ระบำนางรองรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีระสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฏัก สินทร. (2556). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาปฏิบัติกีตาร์ 3 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาดนตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
มะลิฉัตร เอื้ออานนท์. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังษิยา งามวงศ์. (2558). การประดิษฐ์ท่ารำประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ฟ้อนบัวสวรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รานี ชัยสงคราม. (2544). นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
เรณู โกสินานนท์. (2548). นาฏยศัพท์ ภาษาท่านาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิไลพร ยิ้มเยาะ. (2561). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนชุดสอนหนูเป็นเด็กด้วยกระบวนการ "QPAR" เพื่อพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี การศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านเหล่าหญ้า อำเภอเขาค้อ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเพชรบูรณ ์ เขต 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.
อุมารี นาสมตอง. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงไทยสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Simpson, D. (1972). Teaching physical education. Boston: Houghton Mufflin Co.