ความงาม: คุณค่าของสตรี

Main Article Content

พระบุญเลี้ยง สุขพิพัฒน์
จรัส ลีกา
พระธวัชชัย ฐิตญาโณ (มุงคุณคำชาว)
พระใบฎีกาอนุพงษ์ สุเมโธ (อาจมุงคุณ)
พระครูกิตติโพธิสาร กิตฺติปญฺโญ (ช่วยหาญ)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงความงามที่เป็นคุณค่าของสตรี พบว่า ความงามของสตรีเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ที่เป็นแรงกระตุ้นให้ความพึงพอใจแก่ผู้พบเห็น และมีเกณฑ์ตัดสินความงามของสตรี โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 1) กลุ่มจิตนิยม จะตัดสินความงามของสตรีด้วยกระบวนการของจิตที่ใช้วิธีอัตวิสัยเป็นเกณฑ์ตัดสินที่เป็นความรู้สึกของปัจเจกบุคคล 2) กลุ่มวัตถุนิยมจะตัดสินความงามของสตรีโดยใช้วิธีปรวิสัยด้วยยึดมาตรฐานความงามแบบสากลที่ถูกกำหนดขึ้นในยุคนั้นๆ เช่น เบญจกัลยาณี และ 3) กลุ่มสัมพัทธนิยม ให้เหตุผลว่า ความงามไม่ใช่ความรู้สึกทางสุนทรียะที่เกิดขึ้นโดยตรงแก่ผู้รับรู้ และไม่ใช่คุณสมบัติของรูปร่างหน้าตาที่มีลักษณะเป็นสิ่งสัมบูรณ์ แต่ความงามคือ ความสามารถของคุณสมบัติที่เป็นคุณค่าดั้งเดิมของวัตถุที่ทำให้เกิดคุณค่าตามสัญชาตญาณแก่ผู้รับรู้ และความงามนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีค่าในตัวเอง แต่มีลักษณะในเชิงสัมพันธ์กับความรู้สึกของผู้รับรู้ด้วย ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความงามของสตรีไว้ 2 ลักษณะ คือ 1) ความงามภายนอก ที่เกิดจากรูปทรงของร่างกายที่กำหนดไว้ เช่นเบญจกัลยาณี และ 2) ความงามภายใน เป็นความงามที่สัมผัสไม่ได้เพราะเป็นนามธรรม แต่สามารถแสดงออกมาให้เป็นรูปธรรมโดยผ่านกายสุจริตและวจีสุจริต

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กชกรณ์ เสรีฉันทฤกษ์. (2550). วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย: มุมมองพหุมิติ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาลตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เขมจิต ศรีบุนนาค. (2542). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: การศึกษาคลื่นลูกที่สาม.

จงจิต พานิชกุล. (2557). การศึกษาการทำศัลยกรรมความงามในมุมมองของพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

จินดา จันทร์แก้ว. (2545). คุณวิทยา: คุณค่าคืออะไร? วาทกรรมว่าด้วยความจริงและความงาม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2543). พจนานุกรมศาสตรฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงการณราชวิทยาลัย.

พระพีรสิฐ ปิยสีโล (ลักขษร). (2550). อิทธิพลของสุนทรียภาพด้านความงามในพุทธปรัชญาที่มีต่อพุทธศิลป์ขอม. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาทวี มหาปญฺโญ. (2555). ความงามในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ (ใจหาญ). (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวง มีนอก. (2539). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พุทธทาสภิกขุ. (2543). ศิลปะแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โสภิศา สัสสินทร. (2559). การพัฒนาตัวแบบความงามของสตรีเชิงพุทธ: กรณีศึกษาผู้หญิงล้านนา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Cortese, A. J. (2004). Provocateur: Images of woman and minorities in advertising. New York: Rowman & Littlefield.

Plato, Symposium, Benjamin Jowett. (1893). In the dialogues of Plato. Oxford: University Press.

Scruton, R. (2011). Beauty: A very short introduction. New York: Oxford University Press.