การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

ผู้แต่ง

  • กัณพัฒน์ แพงดาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระฮอนด้า วาทฺสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุรศักดิ์ จันพลา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารงานกิจการนักเรียน, พรหมวิหาร 4, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เสนอแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 254 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยใช้วิธีแบบเจาะจง ผู้บริหาร 5 ครู 5 รวม 10 คน โดยใช้สถิติทำการวิเคราะห์หาค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 สูงสุดคือ ด้านงานปกครอง รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมนักเรียน ด้านสวัสดิการนักเรียน ด้านงานแนะแนว ตามลำดับ และด้านที่มีระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนต่ำสุดคือ ด้านโครงการพิเศษ
2. แนวทางบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านงานแนะแนว โรงเรียนควรตระหนักถึงการให้คำปรึกษาแนะแนว ด้านกิจกรรมนักเรียน โรงเรียนควรจัดให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานกิจกรรมนักเรียนมีความยินดีเมื่อนักเรียนทำความดี สำเร็จการศึกษา ด้านโครงการพิเศษ โรงเรียนควรจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการพิเศษเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมด้านงานปกครอง โรงเรียนควรจัดตั้งคณะทำงานกำกับดูแลความประพฤติของนักเรียน ด้านสวัสดิการนักเรียน โรงเรียนควรจัดทำแผนทำแผนปฏิบัติการด้านสวัสดิการนักเรียนครูผู้บริหารมีใจเป็นกลางเพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างเท่าเทียม

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส, สุนทร สายคํา และบุญญาพงษ์ ดวงมาลย์. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 250-251.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ:

สหธรรมิก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=4004

Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York: Harper & Row.

Gunderson, J. (2015). Family group conference: An innovative approach to truancy in schools. A case study. Retrieved from http://digitallibrary.usc.edu/cdm/ref/collection/p15799coll16/id/77364

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)